พระเครื่อง
- หมวด 4 จตุรเทพโคตรแชมป์
- พระสุดหวงของ ช้าง–วัดห้วย
- หมวดพระสวยขั้นเทพ-มีไว้แค่โชว์
- หมวดรวมพระแชมป์ยอดนิยม
- พระเบญจภาคี
- พระปิดตายอดนิยม
- เครื่องรางยอดนิยม
- พระเครื่องเนื้อโลหะยอดนิยม
- หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม
- พระเครื่องเนื้อดินยอดนิยม
- พระชุดเล็กยอดนิยม
- หมวดมรดกพระเครื่อง อ.เต็ก
- หมวดพระเครื่ององค์พิเศษ
- พระทวารวดี และเทวรูปขนาดเล็ก
- หมวดพระแชมป์–ราคาแรงส์
- หมวดพระแปลกตาแต่แท้ชัวร์
- หมวดพระแชมป์–ราคาเบา
- หมวดพระยอดหายาก
หมวดพระเครื่ององค์พิเศษ
องค์ที่ 012 พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลางไม่มีกนก
ถ้าจะกล่าวถึง พระกรุที่มีพุทธคุณทางโภคทรัพย์เป็นเลิศแล้ว คงจะต้องมีพระกำแพงซุ้มกอรวมอยู่ด้วย 1 องค์ พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระชื่อดังของเมืองกำแพงเพชร และเป็น 1 ใน 5 ของพระเบญจภาคีชุดใหญ่ ซึ่งมี พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง และพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ พระกำแพงซุ้มกอมีสโลแกนว่า “มีกูไม่มีจน” ซึ่งก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า พุทธคุณจะเน้นไปทางโภคทรัพย์ เมตตาค้าขาย พระกำแพง ซุ้มกอเป็นพระยอดนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นพระที่มีความต้องการของคนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าราคาพุ่งสูงขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ก็มีใบสั่งซื้ออยู่จำนวนมาก แต่กลับไม่มีของ พระกำแพงซุ้มกอแบ่งออกได้หลายพิมพ์ ดังนี้ 1. พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ - พิมพ์ใหญ่ข้างกนก - พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก (หรือจะเรียกว่า ซุ้มกอดำ) 2. พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์กลาง 3. พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์เล็ก 4. พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ 5. พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์จิ๋ว หรือพิมพ์เม็ดแตง แต่วันนี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะเพียงพระกำแพงซุ้มกอไม่มีกนก ปกติเราจะพบเจอแต่พระ ซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก หรือจะเรียกว่าซุ้มกอดำก็ได้เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นสีดำและบางองค์ก็มีเนื้อแดง หรือพวกเนื้อสีผ่านก็มี และรูปที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่ด้านบนนี้ เป็นซุ้มกอพิมพ์กลางแบบไม่มีกนก ซึ่งในชีวิตผมเคยเจอพิมพ์กลางไม่มีกนกอยู่ 1 องค์ เป็นเนื้อสีผ่านดำกับแดง องค์นี้ก็ว่าหายากแล้ว มาเจอองค์นี้พิมพ์กลางไม่มีกนก และเป็นเนื้อสีเหลืองพิกุลอีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ ปกติพิมพ์กลางจะมีแต่พิมพ์มีกนก ลักษณะพิมพ์จะตื้น ๆ และค่อนข้างจะบาง ๆ พบเจอได้ไม่ยากนัก ตอนผมได้ซุ้มกอพิมพ์กลางไม่มีกนกองค์นี้มา ผมก็ไปสอบถาม อ.เต็กว่าเคยเห็นไหม อ.เต็กบอกว่าเคยเจอแต่เนื้อแดง และบอกอีกว่าเล็กกว่านี้ก็มี อยู่ที่เราจะเจอหรือเปล่า? แต่ซุ้มกอพิมพ์กลางไม่มีกนกองค์นี้สวยและเรียบร้อยดี สภาพพิมพ์ด้านหน้าเป็นพระเรียบร้อยและฟอร์มดี ปีกด้านข้างไม่ห่อมาก ตัวองค์พระลึกพอสมควรมีเส้นประภามณฑลครอบศรีษะ 1 เส้น พื้นผิวมีรอยปริบ้างเล็กน้อย ด้านหลังจะเห็นลายนิ้วมือกดกระจายอยู่เต็มด้านหลัง ขนาดความสูงของซุ้มกอองค์นี้ประมาณ 2.2 ซม. ก็คือพิมพ์กลางแน่นอน สรุปพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์กลางไม่มีกนก เนื้อสีเหลืองพิกุลองค์นี้เป็นพระสวยมากองค์หนึ่ง ซึ่งจะหายากมาก ๆ ในปัจจุบัน |
องค์ที่ 011กำแพงเม็ดขนุน ว่านหน้าทอง จ.กำแพงเพชรถ้าจะกล่าวถึง พระปางลีลา หรือลีลาก้าวย่างที่งดงาม และนิยมที่สุด ไม่มีพระเมืองไหน และองค์ไหนจะเหนือกว่า สกุลกำแพงเพชร ซึ่งได้แก่ กำแพงเม็ดขนุน และกำแพงพลูจีบ พระทั้งสองชนิดได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่วันนี้เราจะกล่าวถึง พระกำแพงเม็ดขนุนก่อน พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระศิลปะสุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 6-700 ปี โดยประมาณ ส่วนแม่พิมพ์แบ่งออกเป็นพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ส่วนเนื้อก็มีหลายแบบ เช่น เนื้อดิน, เนื้อชิน, และเนื้อว่าน ๆ แบ่งย่อย ๆ ออกเป็น เนื้อว่านหน้าทอง, ว่านหน้าเงิน, ว่านหน้านาก ทั้ง 3 เนื้อ ว่านหน้าทองจะได้รับความนิยมที่สุด พระกำแพงเม็ดขนุน เนื้อดินที่ว่าหายากมาก ๆ ถ้าจะเทียบกับเม็ดขนุนว่านหน้าทองแล้วละก็ เม็ดขนุนว่านหน้าทองหายากกว่าเป็นทวีคูณเลย และวันนี้เราจะอธิบาย เรื่องพระเม็ดขนุนว่านหน้าทอง องค์ในภาพด้านบนนี้ พระกำแพงเม็ดขนุนว่านหน้าทอง มีอยู่หลายแม่พิมพ์ แต่แม่พิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือแม่พิมพ์เดียวกันกับพระเม็ดขนุนเนื้อดิน สันนิษฐานว่า เป็นพระที่ขึ้นจากกรุวัดบรมธาตุ คือยุคแรก ๆ เลย สำหรับองค์ในภาพ เป็นพระกำแพงเม็ดขนุนว่านหน้าทองของผู้เขียนเอง ที่พึ่งจะได้มาตอนปีใหม่นี่เอง ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ที่ถูกใจผู้เขียนมาก ๆ พระเม็ดขนุนว่านหน้าทององค์นี้เป็นพระกดพิมพ์ได้ลึก จึงเห็นหน้าตาได้ชัดเจน ตำหนิพิมพ์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ หลังเท้าขวาด้านบน จะมีเนื้อเกินเป็นก้อนนูนขึ้นมา หรือเซียนพระจะเรียกว่า “ลูกฟุตบอล” จะติดชัดเจน ซึ่งองค์ในเว๊บช้างตำหนิตรงนี้ยังไม่ติดเลย สภาพพิมพ์ด้านหน้า เป็นพระกดพิมพ์ได้ลึก ทำให้เห็นพิมพ์ทรงได้ชัดเจน ลีลาพลิ้วไหวและอ่อนช้อย พื้นผิวทองแห้งสนิท มีคราบฝุ่นและคราบดิน, ความเก่า เกาะติดแน่น ตามส่วนที่ลึก หรือซอก ๆ ต่าง ๆ ส่วนสูงบางแห่งถูกสัมผัสบ้าง ทำให้ผิวทองมีความจัดขึ้นเล็กน้อย สภาพแบบนี้ถือว่าแชมป์แล้ว ผู้เขียนยังไม่เคยเจอองค์ไหน ที่สวยกว่าองค์นี้เลย สภาพด้านหลังจะเห็นเนื้อว่านที่แห้ง บางแห่งจะขึ้นฝ้า สีออกขาวคล้าย ๆ รำข้าว กระจายอยู่เต็มพื้นแผ่นหลัง และต้องถือว่า เม็ดขนุนว่านหน้าทององค์นี้ สวยสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ช้าง–วัดห้วย องค์ที่ 010 ตะกรุด หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่าถ้าจะกล่าวถึงตะกรุดหลายชั้น โดยชั้นนอกเป็นตะกั่ว แกนกลางเป็นทองแดงหรือทองเหลือง ก็จะต้องนึกถึง ตะกรุดสายพิจิตร และถ้าถามถึงต้นตำรับการสร้างตะกรุดหลายชั้น ก็ต้องยกให้ หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า เป็นเจ้าแรก ต่อมาภายหลังก็มีเกจิอาจารย์สายพิจิตรชื่อดังหลายท่าน เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อภู่ วัดท่าฬ่อ ได้แบบอย่างการทำตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ เพียงแต่บางท่านมาปรับเปลี่ยน มาทำแกนกลางเป็นอั่วทองแดงหรือทองเหลือง เพื่อความคงทนแข็งแรง รูปทรงตะกรุดจะได้ไม่บิดงอ หลวงพ่อโพธิ์ เป็นพระมอญ เป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่าและเก่ามาก ๆ ด้วย คงมรณภาพมากกว่าร้อยปีแล้ว ประวัติความเป็นมาจึงลางเลือน มีแต่คำบอกเล่าว่าท่านชอบธุดงค์ไปตามป่าเขา แล้วสร้างกุฏิเล็ก ๆ ของท่านไว้กลางป่า ท่านชอบอยู่องค์เดียวไม่ชอบความอึกทึก ชอบนั่งวิปัสสนา มีเรื่องเล่าว่า เวลาเกิดไฟป่า ไฟลามไปใกล้ ๆ กุฏิของท่าน ท่านก็ไม่หนี สุดท้ายไฟป่าก็ดับเอง ต่อมาได้มีการจัดสร้างวัดวังหมาเน่าขึ้น สาเหตุที่เรียกแบบนี้ก็เพราะเหนือบริเวณวัดขึ้นไป ประมาณ 100-200 เมตร สายน้ำตรงนั้นจะเลี้ยวโค้งหักศอก ทำให้เกิดวังน้ำวนขึ้น หมาเน่าที่ลอยมาตามน้ำก็จะไหลวนอยู่ตรงบริเวณนั้น บางครั้งมีหมาเน่าตายอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีกลิ่นเหม็นมาก ๆ แต่หลวงพ่อโพธิ์ท่านไม่รังเกียจ และไม่เหม็นด้วย เพราะท่านมีคาถาดี หลังจากหลวงพ่อโพธิ์มรณภาพไปแล้ว ทางวัดจึงถูกจัดตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเรียกว่า “วัดโพธิ์ศรี” ประมาณปี 2482 โดยใช้ชื่อหลวงพ่อโพธิ์เป็นหลักในการตั้งชื่อวัด จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในละแวกนั้น บอกว่าหลวงพ่อโพธิ์ท่านสร้างตะกรุดไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะขอร้องให้สร้าง เพื่อพกติดตัวไว้ป้องกันอันตรายและลูกศิษย์จะต้องจัดหาวัสดุ ได้แก่ แผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง หรือแผ่นทองเหลือง หลวงพ่อโพธิ์จะสร้างตะกรุดขนาดเขื่อง โดยมีแผ่นทองแดงหรือแผ่นทองเหลืองพันอยู่ตรงกลาง วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกั่วชำรุดง่าย เพราะถ้าใช้ตะกั่วอย่างเดียวจะบี้แบนได้ง่าย แผ่นตะกั่วของหลวงพ่อจะค่อนข้างหนากว่าเกจิอาจารย์ท่านอื่น ท่านจะจารอักขระต่าง ๆ ลงบนแผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง, แผ่นทองเหลือง อย่างจุใจ คือลงเต็มแผ่นโลหะจนเสร็จ เวลาม้วนท่านจะวางแผ่นตะกั่วไว้ด้านนอก และแผ่นทองแดงแผ่นทองเหลืองไว้ด้านใน วางซ้อนกันแล้วค่อยม้วน แผ่นโลหะ ต่าง ๆ จะซ้อนกันสลับกันไป ตะกรุดบางดอก จะมีแค่แผ่นตะกั่วกับแผ่นทองแดง บางดอกจะมีแค่แผ่นตะกั่วกับแผ่นทองเหลือง และบางดอกก็มีโลหะ 3 ชนิดเลย ก็คือ แผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง และแผ่นทองเหลืองม้วนซ้อนกัน แล้วแต่ลูกศิษย์จะจัดวัสดุมาให้ เมื่อท่านม้วนตะกรุดเสร็จ หลวงพ่อโพธิ์จะปลุกเสกเดี่ยว จนเต็มที่แล้ว แล้วจะแจกคืนเจ้าของภายหลัง ตะกรุดของท่านมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือถึงขนาดแฮนด์รถจักรยาน มีทั้งแบบถักเชือกแล้วลงรัก หรือแบบเปลือยไม่ถักเชือกก็มี ตะกรุดของท่านส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่ขนาด 4” ขึ้นไป ส่วนดอก สั้น ๆ ขนาด 1.5” แบบรูปตัวอย่างจะไม่ค่อยเจอ เคยเจอบางครอบครัวมีตะกรุดอยู่แค่ดอกเดียวแต่มีลูกอยู่หลายคน สุดท้ายต้องตัดแบ่ง ๆ กันไปก็มี แต่ส่วนใหญ่ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ จะสมบูรณ์เกือบทุกดอก เพราะเป็นตะกรุดขนาดใหญ่ พกพานำติดตัวจะลำบาก ส่วนใหญ่จึงเก็บไว้บนหิ้ง และจะใช้ตะกรุดดอกเล็ก ๆ ของอาจารย์อื่นมาพกติดตัวแทน ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์จะดีทางด้านคงกระพันชาตรี มีคนเคยถูกยิงก็มากไม่มีเข้า มีเรื่องเล่าของชาวบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งมีตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์คาดเอวไว้ดอกหนึ่ง ชาวบ้านผู้นี้เป็นชาวบ้านแถว ๆ วัดวังหมาเน่า พอถึงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำบางช่วงจะตื้น พอเดินลุยข้ามแม่น้ำได้ ชาวบ้านผู้นี้ได้จูงควายข้ามแม่น้ำ แต่ควายไม่ยอมลง ชาวบ้านผู้นี้ก็ลงไปก่อน แล้วค่อยดึงเชือกให้ควายเดินตามลงไป ขณะที่ลงไปแกไม่ทันสังเกตว่ามีจระเข้ขนาดใหญ่ที่ซุ่มอยู่แถวนั้น จระเข้ตัวนั้นเลยกัดเข้าที่บั้นเอวแล้วคาบลงไปในน้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี แกชักมีดที่เหน็บไว้ที่เอวใช้มือคลำหาลูกตาจระเข้แล้วเอามีดแทงที่ลูกตาของมัน จระเข้เจ็บจึงปล่อยชายผู้นั้นออกจากปาก แล้วมันก็เผ่นหนีไป ภายหลังมาดูบาดแผล ปรากฏว่าไม่มีเข้าแม้แต่เขี้ยวเดียว สุดยอดจริง ๆ
หลักการพิจารณา
- ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์วัดวังหมาเน่า ส่วนใหญ่จะเจอแต่ดอกใหญ่ ขนาดเท่าแฮนด์จักรยาน ให้สังเกตภายนอก การถักเชือกส่วนใหญ่จะถักเรียงกันแบบง่าย ๆ - ภายในให้ดูหัวท้ายตะกรุด จะเห็นแผ่นตะกั่วจะซ้อนกับแผ่นทองแดงหรือแผ่นทองเหลือง หรือซ้อนทั้งแผ่นทองเหลืองและแผ่นทองแดง - กรณีเจอดอกเล็กขนาดประมาณ 2” ความอ้วนของตะกรุดเท่ากับนิ้วกลางผู้ใหญ่ ซ้อนแผ่นทองแดงกับตะกั่วเหมือนกัน แบบนี้จะเป็นของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน - ที่เหลือให้ดูความเก่าของเชือกและรัก สุดท้ายก็ดูโลหะ ถ้าเป็นโลหะตะกั่ว จะบี้จนมนกลมกลืนจนเป็นเนื้อเดียวกันเลยก็มี - กรณีตะกรุดค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างดอกเล็ก 1.5” ให้ดูที่เชือกถักส่วนใหญ่ สมัยก่อนจะใช้เชือกปอ, ป่าน มาถัก ลายเชือกถักจะไม่แน่นอน ส่วนใหญ่หลวงพ่อโพธิ์จะปลุกเสกแค่ตะกรุด ภายหลังมาถักเชือกและลงรักกันเอง ให้สังเกตที่รัก ถ้ารักเก่าจริง รักจะปริแตกเป็นริ้ว ๆ เป็นเกล็ดเล็ก ๆ เลย ส่วนหัวท้ายตะกรุดให้ดูที่ตะกั่ว ถ้าเป็นตะกั่วเก่าให้ดูที่ความหนาของตะกั่ว พื้นผิวของความหนาจะมีรอยพรุนไม่เรียบเนียน เนื่องจากถูกกัดกร่อนจากความชื้นและอากาศ - ตามขอบรอบนอกสุดจะไม่มีความคมเหลืออยู่ เนื่องจากถูกสัมผัสมาเป็นเวลานานกว่าร้อยปี องค์ที่ 009 พระปิดตา หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ อ.สามพราน จ.นครปฐม
เกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเมื่อกว่าร้อยปีของ อ.สามพราน จ.นครปฐม และไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อ หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ ถึงแม้หลวงปู่จ้อย จะมรณภาพไปเป็นร้อยปีแล้ว แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงปู่จ้อย ยังมิเสื่อมคลาย ทุก ๆ วันจะมีผู้ที่เคารพเลื่อมใสไปกราบไหว้รูปหล่อสัมฤทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร และบนบานศาลกล่าว ขอให้หลวงปู่จ้อยช่วยเหลือในสิ่งต่าง ๆ เมื่อสมหวังจะมาแก้บนด้วยพวงมาลัย ปลาช่อนแป๊ะซะ และเหล้าขาว และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีชาวสามพรานไปบนบานขอโชคลาภกับหลวงปู่จ้อย และก็สมหวังอย่างใหญ่ คือถูกรางวัลที่ 1 ได้เงินไปหลายล้าน เป็นที่โจทย์ขานทั่ว อ.สามพราน และพื้นที่ใกล้เคียง
ประวัติโดยย่อ หลวงปู่จ้อย กำเนิดขึ้นจากครอบครัวชาวสวน อ.สามพราน หมู่บ้านบางช้างเหนือ โยมบิดาชื่อ นาค สุขบำรุง โยมมารดาชื่อ จิ๋ว สุขบำรุง มีพี่ 2 คน เมื่อเยาว์วัย เป็นเด็กฉลาด เรียนเก่ง สนใจทางด้านวิชาอาคมไสยศาสตร์แขนงต่าง ๆ และเสาะแสวงหาอาจารย์เก่ง ๆ เพื่อขอเรียนวิชา จนอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางช้างเหนือ โดยมีหลวงพ่อมา เจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อมาเป็นพระที่เก่งมาก ๆ ในสมัยนั้น มีความชำนาญด้านพุทธเวทย์ และวิปัสสนา เมื่อหลวงพ่อมา เจ้าอาวาสมรณภาพ ด้วยโรคชรา หลวงปู่จ้อยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทน ในขณะที่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ ตอนนั้นหลวงปู่จ้อยอายุประมาณ 40 ปี ได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางได้ขลังมาก ทุกชิ้นสามารถทดสอบหรือลองได้ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตา โดยพุทธคุณจะเน้นหนักไปทางมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี วัตถุมงคล หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ มีอายุยืนถึง 82 ปี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย เช่น พระเครื่อง ได้แก่ พระปิดตา หินสบู่แกะ ประเภทเครื่องราง ได้แก่ ตะกรุดไม้รวก หวายคาดเอว มีดหมอ กะลามหาอุด อื่น ๆ อีกหลายอย่าง แต่วันนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะพระปิดตา หินสบู่แกะ หลักการพิจารณา พระปิดตา หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ
- หลักการพิจารณา พระปิดตา หลวงปู่จ้อย เราจะอธิบายเป็นภาพรวมโดยแยกเป็นข้อ ๆ ไป เพราะงานแกะแฮนด์เมด แต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน จะอธิบายโดยชี้ตำหนิจะค่อนข้างยาก - วัสดุที่สร้างพระปิดตาก็คือ หินสบู่ แล้วนำมาแกะเป็นพระปิดตาองค์เล็ก ๆ แกะแบบหยาบ ๆ มีทั้งแกะเป็นพระปิดตา คือเอามือปิดหน้าอย่างเดียว และแกะเป็นปิดตามหาอุด คือเอามือล้วงปิดทวารด้วย และมีทั้งแกะหน้าเดียว และแบบสองหน้าก็มี - หินสบู่มีด้วยกันหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีชมพู แต่สีที่นิยมสุด คือ สีแดง ให้สังเกตเนื้อหิน ปรกติจะไม่เป็นสีเดียวกันทั้งหมด คือจะมีสีอื่นมาแซมไม่มากก็น้อย เช่น องค์ตัวอย่าง จะมีสีเหลืองมาแซมที่มือมาปิดที่หน้า ส่วนเนื้อทั่ว ๆ ไปจะมีหลุม มีแอ่ง และมีเนื้อหิน หรือกรวด ชนิดอื่นมาแซมอยู่ในเนื้อ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหิน - ให้สังเกตตามซอกจะมีรอยเครื่องมือแกะเป็นรอยขีด เป็นเส้นสั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่บนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสจะเรียบมน เพราะหินสบู่จะนิ่ม และแกะง่าย เมื่อถูกสัมผัสมายาวนาน ผิวจะเรียบเนียน - ความเก่า ให้ดูตามซอกจะแห้ง และมีคราบฝุ่นและสิ่งสกปรกเพราะจะไม่ถูกสัมผัส ส่วนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสก็คือส่วนบน ๆ จะสว่างและสดใส เนื้อจะจัดกว่า - อักขระที่จารตามลำตัวขององค์พระปิดตา ส่วนใหญ่จะมีจาร แค่ 2-3 ตัวเท่านั้น และจะเห็นแค่ราง ๆ เท่านั้น สำหรับองค์ตัวอย่าง เห็นแค่ตัว “นะ” ที่หัวด้านบน แค่ตัวเดียวเท่านั้น องค์ที่ 008 พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ์ชะลูดใหญ่ เนื้อดิน 7 ป่าช้า จ.นนทบุรี
พระปิดตา และตะกรุดมหาโสฬสมงคล ของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เป็นที่รู้จักและ มีชื่อเสียงมากว่าร้อยปีแล้ว ตะกรุดมหาโสฬสมงคล เป็นตะกรุดที่หายากและมีคุณวิเศษครอบจักรวาล และยังเป็นตะกรุดครองอันดับ 1 มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่านก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าใคร เป็นที่เลื่องลือในคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม มีโชคลาภและ โภคทรัพย์ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นที่โจษขานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่เอี่ยมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนา ท่านชอบเดินทางไปจาริก เพื่อบำเพ็ญตบะจนวิชากล้าแกร่งภายหลังได้เดินทางกลับวัด เพื่อบูรณะวัดสะพานสูง และสร้างพระอุโบสถ ท่านจึงเริ่มสร้างพระปิดตา และตะกรุดเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้คนที่มาบริจาคทรัพย์ทำบุญเพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ หลวงปู่เอี่ยม เริ่มสร้างพระปิดตาครั้งแรก ประมาณ พ.ศ. 2397 มีอยู่หลายพิมพ์ ได้แก่ - พิมพ์ใหญ่ แบ่งออกเป็น พิมพ์ชะลูดใหญ่ และพิมพ์ชะลูดมาตรฐาน - พิมพ์กลาง แบ่งออกเป็น พิมพ์ตะพาบใหญ่ และพิมพ์ตะพาบมาตรฐาน - พิมพ์เล็ก แบ่งออกเป็น พิมพ์พนมมือหน้าเดียว และพิมพ์พนมมือสองหน้า
ส่วนเนื้อพระปิดตาเท่าที่พบเจอ แบ่งออกเป็น - เนื้อผงคลุกรัก จะเป็นเนื้อนิยมที่สุด มีทั้งจุ่มรัก และไม่จุ่มรัก บางองค์ก็จุ่มยางไม้ และบางองค์จะเห็นจุดแดง ๆ บนพื้นผิวก็มี - เนื้อผงขาว จะเป็นเนื้อที่มีน้อย บางองค์จะจุ่มรักปิดบังไว้ จึงไม่รู้ว่า เนื้อข้างในจะเป็นเนื้อคลุกรัก หรือเนื้อผงขาว สำหรับผู้เขียนว่าเนื้อผงขาวก็คือ เนื้อผงพุทธคุณ ประกอบด้วย ผงโสฬสและตรัยสรณะคมณ์เป็นหลักใหญ่ จะเห็นได้ว่าเนื้อผงขาวมีส่วนประกอบของผงสำคัญ ๆ มากมายจึงเป็นพระน่าใช้มาก ๆ - เนื้อตะกั่ว เป็นเนื้อที่พบเจอน้อยกว่าเนื้อผงขาวเสียอีก ผู้เขียนเคยเจอพิมพ์ชะลูดใหญ่ แค่ 2 องค์เท่านั้น ส่วนหลักการดูก็ดูเหมือนเนื้อผงคลุกรักทุกประการ แต่เนื้อตะกั่วควรต้องดูความเก่ามาก ๆ เข้าไว้ เพราะพระเนื้อตะกั่วทำปลอมง่าย ส่วนใหญ่จะเอาพิมพ์ชะลูดใหญ่มาถอดพิมพ์ เมื่อถอดพิมพ์แล้ว พระที่ได้จะหดเล็ก บางคนจะคิดว่าเป็นพิมพ์ชะลูดมาตรฐาน เพราะพิมพ์ชะลูดหรือพิมพ์ตะพาบเป็นพระพิมพ์ประกบ ฉะนั้นจะต้องมีตะเข็บด้านข้างอยู่แล้ว เมื่อของปลอมถอดพิมพ์มันก็มีตะเข็บเช่นกัน จึงทำให้ดูยาก ฉะนั้นเนื้อตะกั่วต้องเก่าจริง ๆ และเนื้อต้องจัดจึงจะให้ผ่าน สำหรับพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ์ชะลูดใหญ่ เนื้อดิน 7 ป่าช้า องค์ในรูป (ฟังไม่ผิดหรอก เนื้อดิน 7 ป่าช้า) ทุกคนอ่านถึงตรงนี้ต้องหัวเราะแน่ ผมเองตอนพรรคพวกกันเอามาปล่อยให้ ผมยอมรับว่าผมก็หัวเราะเหมือนกัน และยังบอกอีกว่า เนื้อแบบนี้ผมจะเอาไปขายใครได้ และใครจะเชื่อว่าเนื้อแบบนี้จะมีจริง แต่ผมก็ค่อย ๆ ดูเริ่มจากแม่พิมพ์ก่อน เอาแต่จุดหลักก็คือ ข้อศอกซ้ายพระจะยกสูงกว่าข้อศอกขวาพระ, มือปิดหน้าประมาณครึ่งหน้าและเลยมือขึ้นไปจะเป็นแอ่ง, ขาซ้อนกันในลักษณะเฉียงขึ้น จุดอื่น ๆ ก็ตรงตามตำราทั้งหมด แท้ไปค่อนองค์แล้ว ส่วนเนื้อพระ จะมีจุดดำ ๆ ก็คือเม็ดรัก ก็คาดการณ์ว่า น่าจะเอาดินมาผสมกับเม็ดรักมาคลุกเคล้า แล้วค่อยนำมากดพิมพ์เป็นองค์พระ สภาพผิวและความเก่าตามซอกจะแห้งและมีคราบฝุ่นแบบติดแน่น ส่วนบนที่ถูกสัมผัสเนื้อจะจัดมาก สีของเนื้อดินจะอมเขียวหน่อย ๆ ซึ่งสีดินแบบนี้ผู้เขียนก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน แต่จะดูคล้ายพวกดินเหนียวมากกว่า สรุปแบบถามตัวเองว่า พระองค์นี้เป็นพระแท้หรือพระเก๊ หรืออาจารย์อื่นสร้าง คำตอบตอนนั้นก่อนซื้อ คือแท้แน่ แต่ใครจะเชื่อ? เอาเป็นว่าซื้อถูก ๆ ก็แล้วกัน ในที่สุดผมก็ซื้อมาในราคาถูก คราวนี้เรามาฟังผู้ขายเล่าให้ฟังบ้าง คนขายบอกว่าได้จากลุงคนหนึ่ง อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพ่อของคนรู้จักกัน แขวนพระองค์นี้ตั้งแต่สมัยหนุ่ม ๆ โน้น คนขายตามจีบอยู่หลายเดือนกว่าจะได้ หลังจากที่ได้พระมาแล้ว ผู้เขียนก็รีบไปให้ อ.เต็ก นครปฐม ดูอีกเช่นเคย อ.เต็ก บอกว่า แท้แน่นอน แต่เนื้อดินไม่เคยเห็น อาจจะมีก็ได้ แต่ถ้าเป็นเนื้อดิน 7 ป่าช้าจริงละก็ จะเยี่ยมมาก เพราะดิน 7 ป่าช้าจะกันผีได้อย่างชะงัดเลย และกันคูณไสยต่าง ๆ ได้อีกด้วย ส่วนถ้าผู้เข้ามาเยี่ยมชม เว๊บ ช้าง–วัดห้วย ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็โทรมาคุยเล่าสู่กันฟังได้จะขอบพระคุณอย่างสูง |