พระเครื่อง
- หมวด 4 จตุรเทพโคตรแชมป์
- พระสุดหวงของ ช้าง–วัดห้วย
- หมวดพระสวยขั้นเทพ-มีไว้แค่โชว์
- หมวดรวมพระแชมป์ยอดนิยม
- พระเบญจภาคี
- พระปิดตายอดนิยม
- เครื่องรางยอดนิยม
- พระเครื่องเนื้อโลหะยอดนิยม
- หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม
- พระเครื่องเนื้อดินยอดนิยม
- พระชุดเล็กยอดนิยม
- หมวดมรดกพระเครื่อง อ.เต็ก
- หมวดพระเครื่ององค์พิเศษ
- พระทวารวดี และเทวรูปขนาดเล็ก
- หมวดพระแชมป์–ราคาแรงส์
- หมวดพระแปลกตาแต่แท้ชัวร์
- หมวดพระแชมป์–ราคาเบา
- หมวดพระยอดหายาก
หมวดพระแปลกตาแต่แท้ชัวร์
No. PT005 พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อเหลือง องค์ “ทองอำพัน”
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ของ ช้าง–วัดห้วย
เนื่องจากมีเพื่อน ๆ ที่เข้ามาเยี่ยมชม เว็บ ช้าง–วัดห้วย ได้เขียนจดหมายมาถาม 2 ราย ว่าทำไม พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีเนื้อสีออกเหลือง บางองค์เนื้อออกขาวเหมือนพระใหม่ จริง ๆ แล้วแท้มั้ย และสาเหตุที่ทำให้เกิด และ อ.ช้าง ช่วยหาองค์เนื้อเหลือง ๆ มาเป็นตัวอย่างให้ด้วย ผู้เขียนก็ตอบจดหมายคร่าว ๆ ไปก่อน แล้วจะตอบละเอียดพร้อมรูปอีกทีในเว็บ ช้าง–วัดห้วย วันนี้เราจะมาอธิบาย เรื่องเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง มวลสารต่าง ๆ ที่ผสมอยู่ในพระสมเด็จ และทำไมพระสมเด็จวัดระฆังจึงมีพื้นผิวที่มีสีแตกต่างกัน พูดถึงการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆัง ก่อนอื่นเราควรศึกษาเรื่องแม่พิมพ์ให้แม่นและเข้าใจให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยก้าวเข้ามาศึกษาเรื่องเนื้อ เรื่องพิมพ์ผู้เขียนได้อธิบายวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ 4 แม่พิมพ์ไปแล้ว คราวนี้เรามาเจาะลึกเรื่องเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพุฒาจารย์โต เริ่มสร้างพระสมเด็จมาประมาณ 150 ปีหรือกว่านั้น เนื้อพระ มีส่วนประกอบหรือจะเรียกว่ามวลสารประกอบด้วย - ปูนเปลือกหอย คือการนำเปลือกหอยมาเผาและตำหรือบดให้ละเอียด แล้วมาร่อน เราก็จะได้ผงปูนเปลือกหอยหรือจะเรียกว่าปูนขาวก็ได้ ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักก็คือเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง มวลสารอื่น ๆ ที่มาผสมลงในปูนเปลือกหอย ได้แก่ - เม็ดแดง หรืออิฐแดง คือชิ้นส่วนของพระซุ้มกอมาบดเป็นก้อนเล็ก ๆ - เม็ดดำ หรือจุดดำ คือถ่านของก้านธูป ลักษณะเป็นเส้นยาวเล็ก ๆ หรือเป็นจุดดำ ๆ - ก้อนขาว หรือนักสะสมจะเรียกว่า เม็ดพระธาตุ ลักษณะคล้ายก้อนปูน - น้ำมันตั้งอิ้ว เป็นน้ำมันออกเหลืองไว้ผสมทำให้เกิดความเหนียว นุ่ม เกาะตัว - เม็ดสีเทา มีทั้งสีเทาเข้ม และสีเทาอ่อน - เม็ดกรวด มีทั้งหินสีขาวใส และขาวขุ่น - เม็ดหินสีเขียว ลักษณะเขียวคล้ายหยก - ไม้ก้านธูปที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ - เกสรดอกไม้ - เศษผ้าแพรหรือจีวรตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วจารอักขระลงไป มวลสารยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่ผสมลงไป เราจำได้แค่นี้ก็พอแล้ว นี่คือมวลสารที่เห็นกันบ่อย ๆ บนพื้นผิวพระสมเด็จวัดระฆัง ก็คือ สมเด็จพุฒาจารย์โตจะนำปูนเปลือกหอยมาเป็นหลักแล้วเอามวลสารที่กล่าวมาข้างต้นมาผสมอย่างละนิดอย่างละหน่อยมาผสมและคลุกเคล้าด้วยน้ำมันตั้งอิ้ว เป็นตัวประสาน ว่ากันว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต จะสร้างพระครั้งละไม่มาก คือหมดแล้วทำใหม่แบบนี้เรื่อยไป ตอนนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าพระสมเด็จวัดระฆังมีส่วนผสมอะไรบ้าง ตอนนี้เราจะมาตอบคำถามว่า ทำไมพระสมเด็จวัดระฆัง ทำไมจึงมีสีที่พื้นผิวที่แตกต่างกัน - พื้นผิวสีออกขาว สันนิษฐานว่า มวลสารที่ผสมจะแก่ปูนมากจึงทำให้พื้นผิวออกขาวและเนื้อสีแบบนี้ เนื้อส่วนใหญ่จะแกร่งแบบพระสมเด็จบางขุนพรหม - พื้นผิวขาวอมเหลือง สีแบบนี้เป็นสีมาตรฐาน พบเจอมากที่สุด และนิยมที่สุด มวลสาร ที่ผสม ๆ กันได้อย่างลงตัว คือจะใส่น้ำมันตั้งอิ้วในปริมาณที่พอดี เนื้อพระก็จะออกเหลืองเล็กน้อย - พื้นผิวสีออกเหลือง, เหลืองหม่น ๆ สีแบบนี้ นักเล่นรุ่นเก่าจะชอบ เพราะพระที่สีออกเหลืองทุกเฉด คือ ส่วนผสมจะใส่น้ำมันตั้งอิ้วในปริมาณที่มาก ให้สังเกตพระสีเหลือง เนื้อพระจะดูหนึกนุ่ม ก็คือน้ำมันตั้งอิ้วจะทำให้เนื้อพระมีความชื้น หรือมีความมันในเนื้อ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ “องค์ทองอำพัน” เป็นพระสมเด็จที่มีพื้นผิวสีออกเหลืองหม่น ๆ พิมพ์ทรงดูแล้วล่ำสัน งามสง่าดี ดูแล้วเป็นพิมพ์ที่ 2 พิมพ์อกวี พิมพ์อกวีองค์นี้เป็นแบบอกใหญ่ไม่ผอมเรียว พิมพ์ทรงกดติดคมชัด เส้นซุ้มมีการหดตัวเป็นข้อ เว้าไปเว้ามาแบบธรรมชาติ ตรงบริเวณตาขวาพระจะมีเม็ดมวลสารสีเทาเม็ดเล็ก ๆ อยู่ 1 เม็ด ตอนที่ผู้เขียนจะซื้อ เห็นเม็ดสีเทานี้เม็ดเดียวก็จ่ายเงินได้เลย ตรงมุมบนด้านขวามือพระมีรอยปริ เนื่องจากมีการหดตัว ด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ พื้นผิวเป็นรูเล็ก ๆ บางแห่ง เนื่องจากมีการหลุดร่อนของมวลสารที่ย่อยสลายได้ เช่น เกสรดอกไม้ ดังที่กล่าวไปแล้วว่า พระสมเด็จเนื้อออกเหลืองเช่นนี้เซียนรุ่นเก่าจะชอบมาก เพราะเนื้อจะดูหนึกนุ่ม และดูเก่า และสบายตาดี
ช้าง–วัดห้วย |
|
|