logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้201
mod_vvisit_counterเดือนนี้53575
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12719816
เรามี 15 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

          เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกโทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ “องค์วาสนา” ว่าทำไมพื้นผิวมีลักษณะออกขาวเหมือนพระสร้างใหม่เลย ให้คุณช้าง ช่วยอธิบายให้กระจ่างและแม่พิมพ์นี้พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มบล็อกนี้คุณช้างมีมั้ย ถ้าไม่มีช่วยหาองค์มาเปรียบเทียบให้หน่อย ผู้ใหญ่ที่นับถือขอมา

 

 

009 010

สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เกศทะลุซุ้ม

ของ ช้าง–วัดห้วย

 

          สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ “องค์วาสนา” ที่ลงฝากขาย ผมคิดในใจแล้วว่าจะต้องมีคนคิดต่าง ซึ่งก็สามารถคิดได้ทั้งนั้น แต่คนส่วนใหญ่จะชอบพระผิวออกสีน้ำตาลหรือพื้นผิวสีเข้ม คือมีคราบความเก่าและจะไม่ค่อยชอบเนื้อพระสีออกขาว ๆ แต่ถ้าคนเก่งหรือคนดูเป็นให้ขาวแค่ไหนเค้าก็ดูได้ทั้งนั้น ทีนี้เรามาดูกันว่าคราบสีขาวบนพื้นผิวพระสมเด็จเกิดจากอะไร ก็คือ เวลากดเนื้อในแม่พิมพ์ลงในบล็อก เนื้อสมเด็จที่จะกดองค์นี้ (องค์วาสนา) เนื้อจะค่อนข้างเหลวก็กดลงไป แล้วย้ำด้วยแผ่นไม้กดลงด้านหลังอีกที น้ำปูนที่อยู่ในเนื้อก็ซึมไหลลงสู่ด้านล่างของแม่พิมพ์ หรือก็คือ จะอยู่ด้านหน้าขององค์พระ เมื่อเคาะพระออกจากแม่พิมพ์ก็จะมีผิวบาง ๆ ก็คือเมือกปูนอยู่ด้านหน้าอีกชั้นหนึ่ง แล้วค่อยตัดข้างแล้วไปผึ่งลมให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วผิวด้านบนก็เริ่มขาวขึ้น นี่แหละคือสาเหตุทำไมผิวพระจึงขาว ส่วนความสะอาด ก็คือการเก็บรักษา สมัยก่อนไม่มีตลับพระใส่เหมือนสมัยนี้ จึงเก็บรักษาโดยการห่อผ้าประเจียด ห่อกระดาษ เป็นต้น แต่สำหรับ “องค์วาสนา” เจ้าของเล่าให้ฟังว่า ตอนได้มา องค์นี้ถูกจุ่มเทียนหุ้มทั้งองค์เลย พระที่อยู่ด้านในจึงไม่โดนลมไม่โดนฝุ่นได้แต่เซ็ตตัวแห้งอยู่ในเทียนที่ห่อหุ้มเป็นเวลาหลายสิบปี หรืออาจจะถึงร้อยปี เพราะเทียนขาวที่ห่อพื้นผิวเก่า มาก ๆ เมื่อแกะเทียนออกมาพระจึงค่อนข้างสะอาดสมบูรณ์ นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่พระทำไมขาวสะอาดไม่มีฝุ่นเลย และพระองค์นี้ก็ไม่ได้ล้างทำความสะอาดเลยแค่แกะเทียนออกมาก็หลุดออกเป็นแผ่นแล้ว และท่านผู้เข้ามาเยี่ยมชมสมเด็จ “องค์วาสนา” องค์นี้ ลองขยายใหญ่ดูจะเห็นเหมือนมีรอยแตกเป็นเส้นเล็ก ๆ หรือการหดตัวกระจายอยู่ในเนื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อย่างว่าแหละคนเป็นดูแปบเดียวก็รู้ว่าเก่าแน่นอน อย่าง อ.เต็ก นครปฐม ตอนหยิบรูปขึ้นมาดู ผมนับในใจว่า 1...2...3     อ.เต็ก พูดเลยว่า “องค์นี้ซิแชมป์ตัวจริง พระไม่ได้ใช้เลย” แค่ 3 วินาทีเท่านั้นเอง ยอดเยี่ยมจริง ๆ

                ส่วนเรื่องพิมพ์สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ 4 เกศทะลุซุ้ม แม่พิมพ์นี้ที่เหมือน “องค์วาสนา” ผมก็มีอยู่ 1 องค์ ๆ นี้ไม่เคยออกมาให้ใครเห็นเลย สภาพค่อนข้างสวยมาก ระดับแชมป์อันดับต้น ๆ เลย พื้นผิวโดยทั่วไปมีคราบความเก่า สีออกน้ำตาล ส่วนด้านหลังเป็นหลังกาบหมากแบบแนวตั้ง ส่วนแม่พิมพ์บอกได้คำเดียวว่า “ลึก...อย่างกับเหว” เรามาลองเปรียบเทียบความเหมือนว่าเหมือนกันอย่างไร


011

เปรียบเทียบความเหมือน “องค์วาสนา” กับ องค์ “ช้าง–วัดห้วย”

                1.    การล้มของซุ้มแม่พิมพ์จะล้มค่อนข้างชัดเจนเหมือนกันทั้ง 2 องค์

                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านบนตามลูกศรชี้ ช่างจะแกะเป็นเส้นนูนเล็ก ๆ ชัดกว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด เป็นเหมือนกันทั้ง 2 องค์

                3.    จุดนี้แหละที่ชัดเจนที่สุด คือหัวไหล่ซ้ายพระจะแหว่งและบางเหมือนกันทั้ง 2 องค์

                4.    การวางแขนและซอกแขนลึกเหมือนกันทั้ง 2 องค์

                5.    รอยยุบตัวของฐานชั้นล่างตามลูกศรชี้ เหมือนกันทั้ง 2 องค์

                สรุป พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ “องค์วาสนา” และองค์ของ “ช้าง–วัดห้วย” ทั้งสององค์เป็นแม่พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม และเป็นบล็อกเดียวกัน เหมือนกันทุกจุด ต่างกันแค่พื้นผิวเท่านั้นเอง




 

 

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< พฤษภาคม 2020 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31