logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้677
mod_vvisit_counterเดือนนี้27212
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา41031
mod_vvisit_counterทั้งหมด12810639
เรามี 12 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

ธีระ กำแพงแสน

ธีระ กำแพงแสน

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             สวัสดีครับ อ.ช้าง ผมธีระ อยู่กำแพงแสน ผมเองมีความคิดที่จะส่งภาพพระมาให้ อ.ช้าง ช่วยลงขายในหมวดตอ...

อ่านเพิ่มเติม

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

    หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ศึกษาและค้นคว้าหาความรู้จากเว็บช้างมานานหลายปีแล้ว และวันนี้ก็ถึงเวลาที่ผมต...

อ่านเพิ่มเติม

ลุงอุดม เพชรบุรี

ลุงอุดม เพชรบุรี

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดี...คุณช้าง–วัดห้วย             สวัสดี คุณช้าง รอบนี้ลุงมีพระมาฝากคุณช้างอีก 4 องค์ องค์ที่ 1 เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย มาหลายปีแล้ว ผมก็ได้รวบรวมพระเครื่...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

  อัพเดทวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณวีระพล กรุงเทพฯ - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สภาพโค่นแชมป์ - พระสมเด็จวัดระฆ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

 

20     21

20     21

 

 


     ถ้าจะเอ่ยชื่อ หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ ท่านเป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสาธุชนทั่วไป โดยวัตถุมงคลที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ก็คือเบี้ยแก้ เป็นเบี้ยที่เซียนรุ่นเก่าเล่นหากันมานานแล้ว ซึ่งเบี้ยแก้ของท่านจะมีลักษณะเฉพาะก็คือ การถักเชือกหุ้มเบี้ยจะเปิดหลังเบี้ยไว้ไม่ถักปิดหมด แต่หลวงพ่อภักตร์ยังมีอีกวิชาหนึ่งซึ่งโด่งดังไม่แพ้เบี้ยแก้ของท่านเลยก็คือ กลองตะโพนงาแกะ

            สมัยก่อนมีเรื่องเล่ากันว่ามีคณะลิเกชื่อว่า วงหอมหวล เป็นคณะลิเกเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการแสดง แต่เนื่องจากเป็นคณะลิเกที่ไม่มีคนรู้จัก และไม่เป็นที่นิยมชมชอบ จึงมีคนเข้ามาชมลิเกแต่ละคืนน้อยมาก และเมื่อคณะลิเกผ่านมาถึงจังหวัดอ่างทองก็เลยจะมาเปิดการแสดงที่วัดโบสถ์ จึงได้ทำการขออนุญาตหลวงพ่อ หลวงพ่อก็อนุญาตเปิดการแสดงได้ คณะลิเกได้เปิดการแสดงถึง 3 วัน คนก็มาดูการแสดงน้อยมากก็เลยคิดว่าจะไปกราบลาหลวงพ่อว่าจะย้ายไปเล่นที่อื่นแทน เพราะดูแล้วคนละแวกนี้ไม่สนใจการแสดงลิเก ก็เลยนั่งสนทนากับหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านจึงเมตตา จึงบอกหัวหน้าคณะลิเกไปว่าให้นำกลองตะโพนมาเดี๋ยวหลวงพ่อจะปลุกเสกให้ แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยมารับกลับคืนไป และหลวงพ่อสั่งหัวหน้าคณะว่าวันนี้ให้เริ่มการแสดงตั้งแต่เย็น “ให้ออกแขก” เล่นดนตรีไปเรื่อย ๆ แล้วจะมีคนมาดูเอง หัวหน้าคณะจึงสั่งให้ลูกน้องให้ออกแขกตั้งแต่ตอนเย็นเลยตามที่หลวงพ่อบอกไว้ และจะดูซิว่าหลวงพ่อจะเก่งอย่างที่เค้าร่ำลือหรือเปล่า ปรากฏว่า เสียงกลองตะโพนที่บรรเลงนั้นได้ยินไปไกลหลายหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง ผู้คนได้ยินเสียงกลองตะโพนดังแบบมีความนุ่มนวลละมุนละไม ทำให้คนได้ยินมีความเคลิบเคลิ้ม และหลงใหล จนต้องเดินทางมาชมให้เห็นกับตาและได้ยินกับหูแบบใกล้ ๆ พอตกหัวค่ำได้มีคนมานั่งชมลิเกเรียกได้ว่าอย่างล้นหลามเลยทีเดียว และหัวหน้าคณะเลยตัดสินใจเปิดการแสดงต่ออีก 2 วัน ผลก็ออกมาเหมือนวันแรก คือมีคนมาชมลิเกมากมายแบบมืดฟ้ามัวดินเลยทีเดียว และว่ากันว่า ขนาดฝนตกคนก็ยังนั่งชมการแสดงแบบสู้ไม่ถอยเลย

            หลังจากนั้นคณะลิเกก็ต้องย้ายไปเล่นที่อื่น ก็เลยมากราบลาหลวงพ่อและกล่าวขอบคุณหลวงพ่อที่ท่านเมตตาช่วยเหลือ ภายหลังคณะลิเกคณะหอมหวล ก็เริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อย ๆ จนคณะลิเกคณะอื่น ๆ ก็มาฝากตัวเป็นศิษย์และนำกลองตะโพนมาให้หลวงพ่อปลุกเสก จนหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากเรื่องกลองตะโพน หลังจากนั้นไม่นานลูกศิษย์ก็รบเร้าให้หลวงพ่อสร้างเครื่องรางเป็นรูปกลองตะโพนขนาดเล็กไว้พกพานำติดตัวไป มีทั้งทำจากงาช้าง หรือทำจากกระดูกสัตว์ก็มี ว่ากันว่า กลองตะโพนของท่านสร้างได้ยากมาก และหลวงพ่อท่านก็สร้างไว้น้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้คนที่อยากได้ ฉะนั้นใครมีก็ต่างหวงแหน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคนปล่อยหรือเปลี่ยนมือโดยง่าย ส่วนใหญ่จะใช้กลองตะโพนใช้กันแบบเป็นมรดกตกทอดยันลูกหลานเลยทีเดียว ส่วนเรื่องพุทธคุณของกลองตะโพนก็จะเน้นไปที่เรื่อง เมตตามหานิยมอย่างแรง และมีมหาลาภด้วย และก่อนจะพกพานำติดตัวไปให้ท่องคาถานี้กำกับด้วย

            นะโม 3 จบ

            พุทธธัง รัตตะนัง             ธัมมัง รัตตะนัง               สังฆัง รัตตะนัง

 

                                                                                                            ช้าง–วัดห้วย

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< พฤษภาคม 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31