logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้530
mod_vvisit_counterเดือนนี้28655
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา41031
mod_vvisit_counterทั้งหมด12812082
เรามี 19 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

ธีระ กำแพงแสน

ธีระ กำแพงแสน

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             สวัสดีครับ อ.ช้าง ผมธีระ อยู่กำแพงแสน ผมเองมีความคิดที่จะส่งภาพพระมาให้ อ.ช้าง ช่วยลงขายในหมวดตอ...

อ่านเพิ่มเติม

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

    หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ศึกษาและค้นคว้าหาความรู้จากเว็บช้างมานานหลายปีแล้ว และวันนี้ก็ถึงเวลาที่ผมต...

อ่านเพิ่มเติม

ลุงอุดม เพชรบุรี

ลุงอุดม เพชรบุรี

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดี...คุณช้าง–วัดห้วย             สวัสดี คุณช้าง รอบนี้ลุงมีพระมาฝากคุณช้างอีก 4 องค์ องค์ที่ 1 เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย มาหลายปีแล้ว ผมก็ได้รวบรวมพระเครื่...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

  อัพเดทวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณวีระพล กรุงเทพฯ - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สภาพโค่นแชมป์ - พระสมเด็จวัดระฆ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

 

เหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก

หลวงพ่อน้อย  วัดธรรมศาลา  จังหวัดนครปฐม

 

โดย  ช้าง วัดห้วย

                เหรียญหล่ออันดับต้น ๆ ของจังหวัดนครปฐมไม่มีใครไม่รู้จักเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก ของหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งที่พุทธคุณเน้นหนักทางด้านมหาอุดหยุดกระสุนปืน ซึ่งมีประสบการณ์มามากมาย เป็นที่เชื่อถือของชาวจังหวัดนครปฐม

                เริ่มแรก ปกติหลวงพ่อน้อยจะไม่ชอบและไม่อนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล บรรดาลูกศิษย์ได้กราบเรียนขออนุญาตหลายครั้งก็ไม่อนุญาตจนได้รับการสนับสนุนของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มักคุ้นกันมาก สุดท้าย บรรดาลูกศิษย์ก็ได้กราบเรียนขออนุญาตจัดสร้างอีก แต่ครั้งนี้ หลวงพ่อไม่ได้กล่าวอนุญาตหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ทางบรรดาลูกศิษย์จึงถือว่าหลวงพ่อน้อยอนุญาตแล้ว

                เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก เริ่มจัดสร้างประมาณปี 2498 ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญหล่อรูปใบเสมา ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อน้อยหน้าตรง จีวรห่มคลุม เหนือศีรษะหลวงพ่อเป็นแถบลายไทยมีจุดกลมอยู่กึ่งกลาง รูปเหรียญล้อมรอบด้วยลายไทยมีเส้นคู่วิ่งรอบอยู่ด้านใน ด้านหลังเหรียญตรงกลางเป็นยันต์นะทรงแผ่นดิน ในการหล่อครั้งแรกหลวงพ่อน้อยให้ลูกศิษย์ทุบหุ่นออกเพื่อดูพิมพ์ เมื่อหลวงพ่อน้อยดูเหรียญที่ได้ถึงกับอุทานว่า “หน้าดุอย่างกับเสือ” ใครเขาจะเอาไปใช้ จึงตั้งชื่อเหรียญนี้ว่า “พิมพ์หน้าเสือ”

                เหรียญหลวงพ่อน้อย หน้าเสือรุ่นแรก แบ่งออกเป็น

                1.    เหรียญหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อทองผสม

                2.    เหรียญหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อแร่ (เนื้อสีดำ)

                การจัดสร้างวัตถุมงคลประเภทรูปหล่อหรือเหรียญหล่อของหลวงพ่อน้อยส่วนมากจะสร้างด้วยโลหะผสมทั้งสิ้น แต่ที่พิเศษสุด หลวงพ่อน้อยจะนำเอาแร่พิเศษซึ่งจัดเป็นจำพวก “ทนสิทธิ์” คือมีความศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมชาติแร่ดังกล่าวคือ “แร่เกาะล้าน” แร่ชนิดนี้ทางธรณีวิทยาจัดเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่งที่มีในธรรมชาติ โบราณจารย์ถือว่าเป็นแร่วิเศษ คุณสมบัติว่ากันว่า ขนาดน้อง ๆ เหล็กไหลทีเดียว คุณลักษณะเด่น ๆ ที่ได้จากงานหล่อพระเครื่องหลวงพ่อน้อยก็คือ โลหะที่ผสมออกมาจะมีความสุกปลั่ง หมองยาก และจะมีปรากฏแร่สีดำฝังอยู่ในเนื้อและบางส่วนก็ลอยกระจายอยู่บนพื้นเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

                ส่วนเรื่องแม่พิมพ์หลวงพ่อน้อยพิมพ์หน้าเสือรุ่นแรก จากการสอบถามคนรุ่นเก่า ๆ และสอบถาม   อ.เต็ก นครปฐม บอกว่าหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ มีแม่พิมพ์หลายตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนตัวผู้เขียนเองเท่าที่ศึกษามาและค้นคว้ามาหลายปี ผมว่ามีแม่พิมพ์ 2 ตัวแน่นอน แต่วงการเล่นแค่แม่พิมพ์เดียวเท่านั้น จริง ๆ ข้อมูลตรงนี้ไม่อยากจะพูดถึงหรอก เพราะถ้าพูดมากอาจจะเข้าตัวได้ เอาเป็นว่าใครจะเชื่อก็เชื่อ ใครไม่เชื่อก็ไม่ต้องอ่านต่อ จริง ๆ ความรู้ศึกษาไว้ไม่ได้เสียหายอะไร ตอนนี้พอดีผมได้เช่าหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ (จากหมวดตอบจดหมาย) แต่เป็นอีก 1 แม่พิมพ์ มาเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เห็นว่าแตกต่างกันอย่างไร ใกล้เคียงอย่างไร

                ส่วนยันต์ด้านหลังเหรียญหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ มี 2 แม่พิมพ์แน่นอน เพราะมีตัวอย่างให้ดูด้วย ซึ่งไม่ใช่พระของผู้เขียน เป็นพระที่เล่นหาในวงการซึ่งเป็นมาตรฐาน

หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ หลวงพ่อน้อย หน้าเสือ รุ่นแรก

07

หลวงพ่อน้อย หน้าเสือ รุ่นแรก

 

                1.    เริ่มจากขอบบนก่อน กนกแถวนี้ทั้ง 2 ฝั่งจะเป็นรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตรงนี้สำคัญ ควรจะจดจำให้แม่นยำ

                2.    เส้นคู่บนตามลูกศรชี้จะต้องติดชัดเจน ของเก๊ส่วนใหญ่จะติดไม่ชัด

                3.    เส้นขอบคู่ปลายด้านบนตามลูกศรชี้ข้างขวาพระจะเปิด ด้านซ้ายพระเส้นในจะโค้งงุ้มลงมาปิด

                4.    เส้นขอบคู่เส้นในข้างขวาพระตามลูกศรชี้ จะมีเส้นบล็อกแตกโค้งออกมา 1 เส้น

                5.    เปลือกตาตามลูกศรชี้ทั้งซ้ายและขวาจะโค้งสั้น ส่วนลูกตาดำของหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ จะเป็นแบบกลมใหญ่และควรจดจำลูกตาให้แม่นว่าตำแหน่งอยู่จุดไหน

                6.    ตรงคางหลวงพ่อส่วนใหญ่จะบี้เหมือนถูกครูดขึ้นบน ส่วนใต้คางถ้าติดดี ๆ จะมีเส้นบล็อกแตก 2 เส้น หรือจะเรียกเส้นเอ็นคอ 2 เส้นก็ได้

                7.    จดจำเส้นจีวรของหลวงพ่อให้ดี ตำแหน่งแรกตามลูกศรชี้ เส้นบริเวณนี้จะติดบางเกือบขาดจากกัน ตำแหน่งที่สองคือเส้นคู่นี้ตรงปลายจะถ่างออก

                8.    ข้างศีรษะของหลวงพ่อตามลูกศรชี้ ช่างจะแกะเป็นขีด ๆ ทั้ง 2 ข้าง ก็คือเส้นผม

                9.    ตรงกลางหน้าผากเหนือระหว่างคิ้ว ตามลูกศรชี้ จะมีเนื้อนูนขึ้นมาแบบบาง ๆ คล้ายรูป         ข้าวหลามตัดแนวนอน

                10.  ถ้าหล่อติดดี ๆ จะมีเส้นบล็อกแตก ตามลูกศรชี้ เป็นเส้นที่แตกออกมาจากเส้นขอบเส้นใน

                11.  ยันต์ด้านหลังหลวงพ่อน้อยหน้าเสือรุ่นแรก ไม่ว่าจะเนื้อทองผสมหรือจะเป็นเนื้อแร่ เท่าที่ศึกษาค้นคว้ามามีแม่พิมพ์ 2 ตัวแน่นอน ในเมื่อยันต์หลังมีแม่พิมพ์ 2 ตัวได้ ด้านหน้าของหน้าเสือรุ่นแรกจะมีแม่พิมพ์มากกว่า 1 แม่พิมพ์ไม่ได้หรือไง

 

08

ยันต์หน้าเสือรุ่นแรก ยันต์วงรี                          ยันต์หน้าเสือรุ่นแรก ยันต์วงกลม

 

ให้สังเกตเส้นยันต์ล้อมรอบตัวนะทั้งสามเส้น รูปแรกวงยันต์ทั้งหมดจะออกทรงรีหรือวงรี ทรงสูง รูปที่ 2 วงยันต์ทั้งหมด จะออกเป็นทรงกลมทั้งสองรูปเป็นยันต์แท้และเป็นมาตรฐานที่วงการเล่นหากัน ถ้าไม่สังเกตก็จะดูเหมือน ๆ กัน เพราะมันใกล้เคียงกันมาก ๆ

                12.  ให้สังเกตวงยันต์รุ่นแรกจะชิดขอบทางด้านขวามือเราตามลูกศรชี้ ส่วนหน้าเสือรุ่นอื่น ๆ จะวางยันต์อยู่กึ่งกลาง ยกเว้นหน้าเสือย้อนยุคปี 35 ยันต์จะวางชิดขอบเหมือนกับรุ่นแรก

                13.  ตรงหัวกลมของยันต์นะ ตามลูกศรชี้ จะมีเส้นบล็อกแตก 1 เส้น ถ้าหล่อติดดี ๆ จะเห็นได้ชัดเจน

                14.  รอยคีมบีบเนื่องจากเหรียญหล่อหน้าเสือ หลังจากทำการหล่อออกมาเสร็จแล้วจะมีเนื้อเกินตามขอบ ๆ ช่างจึงใช้คีมบีบ (จับเหรียญยึดให้แน่น) แล้วใช้ตะไบแต่งข้างให้เรียบ รอยคีมบีบ จึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อทองผสม ลักษณะรอยคีมบีบจะเป็นรอยคล้ายฟันเฟือง ดังลูกศรชี้ รอย    คีมบีบเกิดได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือบางเหรียญอาจจะไม่เกิดก็ได้

 

ข้อแตกต่างหน้าเสือ รุ่นแรก ทั้งสองแม่พิมพ์

09

หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อทองผสม
 

10

หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อแร่ อีกพิมพ์

ก่อนอื่นเราจะขอเรียกหน้าเสือรุ่นแรกที่เล่นหากันอยู่ว่า พิมพ์ที่ 1 ส่วนหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ อีก      1 แม่พิมพ์ว่า พิมพ์ที่ 2

                ข้อแตกต่างมีดังนี้

                1.    พิมพ์ที่ 1 ขอบบนกนกแถวนี้ทั้งซ้ายและขวา จะเป็นรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว

                        พิมพ์ที่ 2 ขอบบนกนกแถวนี้ทั้งซ้ายและขวา จะเป็นรูปคล้ายเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่า (ซึ่งเป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์)

                2.    พิมพ์ที่ 1 เปลือกตาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะโค้งสั้น

                        พิมพ์ที่ 2 เปลือกตาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะโค้งยาว

                3.    พิมพ์ที่ 1 ลูกตาดำ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะเป็นทรงกลมใหญ่

                        พิมพ์ที่ 2 ลูกตาดำ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะเป็นทรงกลมเล็ก

                4.    พิมพ์ที่ 1 คิ้วทั้งสองข้าง ทั้งซ้ายและขวา จะค่อนข้างหนาใหญ่

                        พิมพ์ที่ 2 คิ้วทั้งสองข้าง ทั้งซ้ายและขวา จะค่อนข้างบางลึก

                จุดแตกต่างที่เห็นชัดเจนก็มีแค่ 4 จุดเท่านั้น นอกนั้นจุดอื่น ๆ ก็เหมือน ๆ กันกับพิมพ์ที่ 1 ทุกจุด จากการสันนิษฐานและวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วว่าเป็นหลวงพ่อน้อยหน้าเสือรุ่นแรกแน่นอนแต่เป็นคนละแม่พิมพ์ หรือเรียกว่าคนละบล็อกก็ได้ ซึ่งแม่พิมพ์นี้มีทั้งเนื้อทองผสมและเนื้อแร่

 

11

ยันต์หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อทองผสม


12

ยันต์หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2

 

 

ส่วนด้านหลังของหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2 ก็เหมือนกับยันต์หน้าเสือรุ่นแรกทั่ว ๆ ไป ยันต์หน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2 จะเป็นแบบยันต์วงรี รายละเอียดของยันต์ก็เหมือน ๆ กันทุกประการ

 

หมายเหตุ  ขอขอบคุณเจ้าของภาพหน้าเสือ เนื้อทองผสม รุ่นแรก

 

 

 

 

 

 

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< เมษายน 2022 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30