logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้876
mod_vvisit_counterเดือนนี้54250
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12720491
เรามี 21 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

 

เหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก

หลวงพ่อน้อย  วัดธรรมศาลา  จังหวัดนครปฐม

 

โดย  ช้าง วัดห้วย

                เหรียญหล่ออันดับต้น ๆ ของจังหวัดนครปฐมไม่มีใครไม่รู้จักเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก ของหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งที่พุทธคุณเน้นหนักทางด้านมหาอุดหยุดกระสุนปืน ซึ่งมีประสบการณ์มามากมาย เป็นที่เชื่อถือของชาวจังหวัดนครปฐม

                เริ่มแรก ปกติหลวงพ่อน้อยจะไม่ชอบและไม่อนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล บรรดาลูกศิษย์ได้กราบเรียนขออนุญาตหลายครั้งก็ไม่อนุญาตจนได้รับการสนับสนุนของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มักคุ้นกันมาก สุดท้าย บรรดาลูกศิษย์ก็ได้กราบเรียนขออนุญาตจัดสร้างอีก แต่ครั้งนี้ หลวงพ่อไม่ได้กล่าวอนุญาตหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ทางบรรดาลูกศิษย์จึงถือว่าหลวงพ่อน้อยอนุญาตแล้ว

                เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก เริ่มจัดสร้างประมาณปี 2498 ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญหล่อรูปใบเสมา ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อน้อยหน้าตรง จีวรห่มคลุม เหนือศีรษะหลวงพ่อเป็นแถบลายไทยมีจุดกลมอยู่กึ่งกลาง รูปเหรียญล้อมรอบด้วยลายไทยมีเส้นคู่วิ่งรอบอยู่ด้านใน ด้านหลังเหรียญตรงกลางเป็นยันต์นะทรงแผ่นดิน ในการหล่อครั้งแรกหลวงพ่อน้อยให้ลูกศิษย์ทุบหุ่นออกเพื่อดูพิมพ์ เมื่อหลวงพ่อน้อยดูเหรียญที่ได้ถึงกับอุทานว่า “หน้าดุอย่างกับเสือ” ใครเขาจะเอาไปใช้ จึงตั้งชื่อเหรียญนี้ว่า “พิมพ์หน้าเสือ”

                เหรียญหลวงพ่อน้อย หน้าเสือรุ่นแรก แบ่งออกเป็น

                1.    เหรียญหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อทองผสม

                2.    เหรียญหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อแร่ (เนื้อสีดำ)

                การจัดสร้างวัตถุมงคลประเภทรูปหล่อหรือเหรียญหล่อของหลวงพ่อน้อยส่วนมากจะสร้างด้วยโลหะผสมทั้งสิ้น แต่ที่พิเศษสุด หลวงพ่อน้อยจะนำเอาแร่พิเศษซึ่งจัดเป็นจำพวก “ทนสิทธิ์” คือมีความศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมชาติแร่ดังกล่าวคือ “แร่เกาะล้าน” แร่ชนิดนี้ทางธรณีวิทยาจัดเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่งที่มีในธรรมชาติ โบราณจารย์ถือว่าเป็นแร่วิเศษ คุณสมบัติว่ากันว่า ขนาดน้อง ๆ เหล็กไหลทีเดียว คุณลักษณะเด่น ๆ ที่ได้จากงานหล่อพระเครื่องหลวงพ่อน้อยก็คือ โลหะที่ผสมออกมาจะมีความสุกปลั่ง หมองยาก และจะมีปรากฏแร่สีดำฝังอยู่ในเนื้อและบางส่วนก็ลอยกระจายอยู่บนพื้นเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

                ส่วนเรื่องแม่พิมพ์หลวงพ่อน้อยพิมพ์หน้าเสือรุ่นแรก จากการสอบถามคนรุ่นเก่า ๆ และสอบถาม   อ.เต็ก นครปฐม บอกว่าหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ มีแม่พิมพ์หลายตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนตัวผู้เขียนเองเท่าที่ศึกษามาและค้นคว้ามาหลายปี ผมว่ามีแม่พิมพ์ 2 ตัวแน่นอน แต่วงการเล่นแค่แม่พิมพ์เดียวเท่านั้น จริง ๆ ข้อมูลตรงนี้ไม่อยากจะพูดถึงหรอก เพราะถ้าพูดมากอาจจะเข้าตัวได้ เอาเป็นว่าใครจะเชื่อก็เชื่อ ใครไม่เชื่อก็ไม่ต้องอ่านต่อ จริง ๆ ความรู้ศึกษาไว้ไม่ได้เสียหายอะไร ตอนนี้พอดีผมได้เช่าหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ (จากหมวดตอบจดหมาย) แต่เป็นอีก 1 แม่พิมพ์ มาเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เห็นว่าแตกต่างกันอย่างไร ใกล้เคียงอย่างไร

                ส่วนยันต์ด้านหลังเหรียญหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ มี 2 แม่พิมพ์แน่นอน เพราะมีตัวอย่างให้ดูด้วย ซึ่งไม่ใช่พระของผู้เขียน เป็นพระที่เล่นหาในวงการซึ่งเป็นมาตรฐาน

หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ หลวงพ่อน้อย หน้าเสือ รุ่นแรก

07

หลวงพ่อน้อย หน้าเสือ รุ่นแรก

 

                1.    เริ่มจากขอบบนก่อน กนกแถวนี้ทั้ง 2 ฝั่งจะเป็นรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตรงนี้สำคัญ ควรจะจดจำให้แม่นยำ

                2.    เส้นคู่บนตามลูกศรชี้จะต้องติดชัดเจน ของเก๊ส่วนใหญ่จะติดไม่ชัด

                3.    เส้นขอบคู่ปลายด้านบนตามลูกศรชี้ข้างขวาพระจะเปิด ด้านซ้ายพระเส้นในจะโค้งงุ้มลงมาปิด

                4.    เส้นขอบคู่เส้นในข้างขวาพระตามลูกศรชี้ จะมีเส้นบล็อกแตกโค้งออกมา 1 เส้น

                5.    เปลือกตาตามลูกศรชี้ทั้งซ้ายและขวาจะโค้งสั้น ส่วนลูกตาดำของหน้าเสือรุ่นแรกไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองผสมหรือเนื้อแร่ จะเป็นแบบกลมใหญ่และควรจดจำลูกตาให้แม่นว่าตำแหน่งอยู่จุดไหน

                6.    ตรงคางหลวงพ่อส่วนใหญ่จะบี้เหมือนถูกครูดขึ้นบน ส่วนใต้คางถ้าติดดี ๆ จะมีเส้นบล็อกแตก 2 เส้น หรือจะเรียกเส้นเอ็นคอ 2 เส้นก็ได้

                7.    จดจำเส้นจีวรของหลวงพ่อให้ดี ตำแหน่งแรกตามลูกศรชี้ เส้นบริเวณนี้จะติดบางเกือบขาดจากกัน ตำแหน่งที่สองคือเส้นคู่นี้ตรงปลายจะถ่างออก

                8.    ข้างศีรษะของหลวงพ่อตามลูกศรชี้ ช่างจะแกะเป็นขีด ๆ ทั้ง 2 ข้าง ก็คือเส้นผม

                9.    ตรงกลางหน้าผากเหนือระหว่างคิ้ว ตามลูกศรชี้ จะมีเนื้อนูนขึ้นมาแบบบาง ๆ คล้ายรูป         ข้าวหลามตัดแนวนอน

                10.  ถ้าหล่อติดดี ๆ จะมีเส้นบล็อกแตก ตามลูกศรชี้ เป็นเส้นที่แตกออกมาจากเส้นขอบเส้นใน

                11.  ยันต์ด้านหลังหลวงพ่อน้อยหน้าเสือรุ่นแรก ไม่ว่าจะเนื้อทองผสมหรือจะเป็นเนื้อแร่ เท่าที่ศึกษาค้นคว้ามามีแม่พิมพ์ 2 ตัวแน่นอน ในเมื่อยันต์หลังมีแม่พิมพ์ 2 ตัวได้ ด้านหน้าของหน้าเสือรุ่นแรกจะมีแม่พิมพ์มากกว่า 1 แม่พิมพ์ไม่ได้หรือไง

 

08

ยันต์หน้าเสือรุ่นแรก ยันต์วงรี                          ยันต์หน้าเสือรุ่นแรก ยันต์วงกลม

 

ให้สังเกตเส้นยันต์ล้อมรอบตัวนะทั้งสามเส้น รูปแรกวงยันต์ทั้งหมดจะออกทรงรีหรือวงรี ทรงสูง รูปที่ 2 วงยันต์ทั้งหมด จะออกเป็นทรงกลมทั้งสองรูปเป็นยันต์แท้และเป็นมาตรฐานที่วงการเล่นหากัน ถ้าไม่สังเกตก็จะดูเหมือน ๆ กัน เพราะมันใกล้เคียงกันมาก ๆ

                12.  ให้สังเกตวงยันต์รุ่นแรกจะชิดขอบทางด้านขวามือเราตามลูกศรชี้ ส่วนหน้าเสือรุ่นอื่น ๆ จะวางยันต์อยู่กึ่งกลาง ยกเว้นหน้าเสือย้อนยุคปี 35 ยันต์จะวางชิดขอบเหมือนกับรุ่นแรก

                13.  ตรงหัวกลมของยันต์นะ ตามลูกศรชี้ จะมีเส้นบล็อกแตก 1 เส้น ถ้าหล่อติดดี ๆ จะเห็นได้ชัดเจน

                14.  รอยคีมบีบเนื่องจากเหรียญหล่อหน้าเสือ หลังจากทำการหล่อออกมาเสร็จแล้วจะมีเนื้อเกินตามขอบ ๆ ช่างจึงใช้คีมบีบ (จับเหรียญยึดให้แน่น) แล้วใช้ตะไบแต่งข้างให้เรียบ รอยคีมบีบ จึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อทองผสม ลักษณะรอยคีมบีบจะเป็นรอยคล้ายฟันเฟือง ดังลูกศรชี้ รอย    คีมบีบเกิดได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือบางเหรียญอาจจะไม่เกิดก็ได้

 

ข้อแตกต่างหน้าเสือ รุ่นแรก ทั้งสองแม่พิมพ์

09

หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อทองผสม
 

10

หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อแร่ อีกพิมพ์

ก่อนอื่นเราจะขอเรียกหน้าเสือรุ่นแรกที่เล่นหากันอยู่ว่า พิมพ์ที่ 1 ส่วนหน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ อีก      1 แม่พิมพ์ว่า พิมพ์ที่ 2

                ข้อแตกต่างมีดังนี้

                1.    พิมพ์ที่ 1 ขอบบนกนกแถวนี้ทั้งซ้ายและขวา จะเป็นรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว

                        พิมพ์ที่ 2 ขอบบนกนกแถวนี้ทั้งซ้ายและขวา จะเป็นรูปคล้ายเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่า (ซึ่งเป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์)

                2.    พิมพ์ที่ 1 เปลือกตาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะโค้งสั้น

                        พิมพ์ที่ 2 เปลือกตาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะโค้งยาว

                3.    พิมพ์ที่ 1 ลูกตาดำ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะเป็นทรงกลมใหญ่

                        พิมพ์ที่ 2 ลูกตาดำ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จะเป็นทรงกลมเล็ก

                4.    พิมพ์ที่ 1 คิ้วทั้งสองข้าง ทั้งซ้ายและขวา จะค่อนข้างหนาใหญ่

                        พิมพ์ที่ 2 คิ้วทั้งสองข้าง ทั้งซ้ายและขวา จะค่อนข้างบางลึก

                จุดแตกต่างที่เห็นชัดเจนก็มีแค่ 4 จุดเท่านั้น นอกนั้นจุดอื่น ๆ ก็เหมือน ๆ กันกับพิมพ์ที่ 1 ทุกจุด จากการสันนิษฐานและวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วว่าเป็นหลวงพ่อน้อยหน้าเสือรุ่นแรกแน่นอนแต่เป็นคนละแม่พิมพ์ หรือเรียกว่าคนละบล็อกก็ได้ ซึ่งแม่พิมพ์นี้มีทั้งเนื้อทองผสมและเนื้อแร่

 

11

ยันต์หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อทองผสม


12

ยันต์หน้าเสือ รุ่นแรก เนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2

 

 

ส่วนด้านหลังของหน้าเสือรุ่นแรก เนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2 ก็เหมือนกับยันต์หน้าเสือรุ่นแรกทั่ว ๆ ไป ยันต์หน้าเสือรุ่นแรกเนื้อแร่ พิมพ์ที่ 2 จะเป็นแบบยันต์วงรี รายละเอียดของยันต์ก็เหมือน ๆ กันทุกประการ

 

หมายเหตุ  ขอขอบคุณเจ้าของภาพหน้าเสือ เนื้อทองผสม รุ่นแรก

 

 

 

 

 

 

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< มีนาคม 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31