logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้121
mod_vvisit_counterเดือนนี้28246
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา41031
mod_vvisit_counterทั้งหมด12811673
เรามี 15 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

ธีระ กำแพงแสน

ธีระ กำแพงแสน

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             สวัสดีครับ อ.ช้าง ผมธีระ อยู่กำแพงแสน ผมเองมีความคิดที่จะส่งภาพพระมาให้ อ.ช้าง ช่วยลงขายในหมวดตอ...

อ่านเพิ่มเติม

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

ฉัตรชัย กรุงเทพฯ

    หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ศึกษาและค้นคว้าหาความรู้จากเว็บช้างมานานหลายปีแล้ว และวันนี้ก็ถึงเวลาที่ผมต...

อ่านเพิ่มเติม

ลุงอุดม เพชรบุรี

ลุงอุดม เพชรบุรี

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดี...คุณช้าง–วัดห้วย             สวัสดี คุณช้าง รอบนี้ลุงมีพระมาฝากคุณช้างอีก 4 องค์ องค์ที่ 1 เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย มาหลายปีแล้ว ผมก็ได้รวบรวมพระเครื่...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

  อัพเดทวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณวีระพล กรุงเทพฯ - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สภาพโค่นแชมป์ - พระสมเด็จวัดระฆ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

วัวธนู  หลวงพ่อน้อย  วัดศรีษะทอง

อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม

 

โดย  ช้าง วัดห้วย

                วัวธนูที่จัดสร้างขึ้นมามีหลายสำนัก หลายคณาจารย์ แต่มีอยู่หนึ่งท่านที่สร้างวัวธนูได้เข้มขลังมาก เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป นั่นก็คือ วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลวงพ่อน้อยได้จัดสร้างวัวธนูขึ้นตามตำรับโบราณตกทอดกันมา เจ้าของต้นตำรับการสร้างวัวธนูก็คือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

                สมเด็จ พระพนรัตน์ ท่านเป็นมหาเถระ ผู้แก่กล้าทางวิปัสสนา และยังเชี่ยวชาญทางด้านเวทย์มนต์คาถา ท่านได้ดำริสร้างวัวธนูขึ้นมาโดยเอาชันโรงมาสร้างวัวธนู และต้องเป็นชันโรงที่ได้มาจากต้นพุทราเท่านั้น (โบราณว่าใครพกชันโรงติดตัวจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และมีเสน่ห์เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีอีกด้วย)

วัวธนู หลวงพ่อน้อย ที่จัดสร้างมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ

                1.  สร้างจากเขาวัวกระทิงโดยใช้ส่วนปลายของเขามาแกะเป็นรูปวัว เขาวัวกระทิง 1 ข้างสร้างได้แค่ตัวเดียวเท่านั้น

                2.  สร้างขึ้นจากครั่งพุทราและต้องเป็นครั่งที่จับกิ่งพุทราเป็นกิ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเท่านั้น

วิธีการสร้างวัวธนูตำรับหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

                ในการจัดสร้างวัวธนู หลวงพ่อน้อย จะจัดพิธีในโบสถ์ เครื่องสังเวย มีหัวหมู เครื่องพร่าปลายำ และผลไม้ต่าง ๆ ล้อมวงด้วยสายสิญจน์รอบโบสถ์ พอถึงฤกษ์สิทธิโชคที่หลวงพ่อน้อยกำหนดไว้ ก็เริ่มจุดธูปเทียนชัย ผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีทุกคน จะต้องถือศีลห้าก่อน 7 วัน และต้องนุ่งขาวห่มขาว เนื่องจากการสร้างวัวธนูจะต้องสร้างให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ชั่วโมง 27 นาที และต้องจัดสร้างในวันมาฆบูชาหรือในวันวิสาขบูชาเท่านั้น ฉะนั้นจึงต้องมีการตระเตรียมวัสดุที่จะมาสร้างวัวธนูไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น มีการผูกโครงวัวธนูด้วยเส้นลวดทองแดง และเตรียมแผ่นโลหะทองแดงสำหรับทำตะกรุดดอกเล็กเพื่อบรรจุในโครงวัวธนูด้วย ส่วนชันโรงได้นำมารวมกันใส่ในภาชนะตั้งไฟเคี่ยวเตรียมไว้เช่นกัน

                พอถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ หลวงพ่อน้อยก็ลงอักขระขอมในแผ่นโลหะพร้อมม้วนเป็นตะกรุด หลวงพ่อน้อยจะจารด้วยพระคาถาหัวใจพระฉิม “นะชาลิติ” บางแผ่นอาจมีจาร นะ๒๑ และโม๑๒ เข้าไปด้วย (หมายถึงคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิด) เสร็จแล้วท่านก็จะส่งให้ผู้เข้าร่วมพิธีนำไปบรรจุในโครงลวดและให้เอาชันโรงที่เคี่ยวไว้พอกทับโครงวัวธนู วัวธนูที่ปั้นเสร็จแล้วหลวงพ่อน้อยจะนำมาเจิมที่เขาด้วยน้ำมันจันทน์ทุกตัว พร้อมทั้งภาวนาคาถากำกับซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

วิธีบูชาวัวธนู หลวงพ่อน้อย

                เมื่อท่านได้วัวธนูหลวงพ่อน้อยมาบูชาแล้ว ให้ทำหิ้งหรือชั้นสำหรับตั้งบูชา หรือจะจัดทำเป็นคอกวัวเล็ก ๆ ก็ได้ ส่วนเครื่องสักการะก็มีน้ำจากบ่อหรือสระก็ได้ 5 บ่อ บ่อละนิดหน่อยใส่ภาชนะเล็ก ๆ ไว้บูชา ใบพุทรา 5 ใบ หญ้าคา 5 ใบ ม้วนให้เล็ก ๆ โดยใช้ด้ายผูก เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ให้จุดธูป 4 ดอก เทียน 1 คู่ แล้วน้อมระลึกถึงสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ต้นตำรับการสร้างวัวธนูเป็นอันดับแรก น้อมระลึกถึง ทวดมี ทวดมา ผู้เป็นบิดา มารดา ของหลวงพ่อน้อย และสุดท้ายก็หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง เสร็จแล้วให้ภาวนาคาถากำกับพระคาถาดังนี้

                เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ

                ตะยะสาทา สาสาทิกุ กุทิสาสา

                กุตะกุภู ภูกุตะกุ ตะพุทธะโคสวาหะ

                เอเตนะ สัจเจนะ โสตถิเตฯ ชัย มังคลานิ (สวด 3 จบ)

                อภัยกุสุนราชา วิชัยพระรุทสุดยอดสอดอินทรา

                นันตรา สุขังโหตุ ชัยมังคลานิฯ (สวด 1 จบ)

                คาถาถวายหญ้าและน้ำ

                อมธัมมิธัมเม รัตนัง ปณีตัง

                ตถูปมัง สปุริสัง วันทามิ มิหัง (สวด 1 จบ)

คุณประโยชน์ของวัวธนู หลวงพ่อน้อย

                จากประสบการณ์ และผู้ได้พบเห็นสรรพคุณของวัวธนู และตำนานโบราณกล่าวไว้ว่าดังนี้

                1.  ให้ประโยชน์ในด้านทำมาค้าขาย หรือจะติดต่อผู้ใดแม้จะไปพบปะศัตรูก็ตามให้พกวัวธนูติดตัวไป

                2.  ไปหาผู้ใหญ่หรือเจ้านายให้เอาน้ำรดวัวแล้วรองน้ำนั้นไปปะพรมตัวเองหรือจะปะพรมสิ่งของ    ที่จะนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ เขาเหล่านั้นจะรักและเอ็นดูและเกื้อกูลให้สำเร็จสมประสงค์

                3.  ถ้ามีวัวควายเจ็บป่วยไม่กินหญ้ากินน้ำให้เอาน้ำรดวัวธนูแล้วรองเอาน้ำไปปะพรมหญ้าและผสมน้ำให้วัวควายกิน จะหายและแข็งแรงยิ่งขึ้น

                4.  อาบน้ำวัวธนูแล้วรองน้ำมาอาบตัวยิ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำด้วยยิ่งวิเศษสุด จะเป็นมงคลและมีเสน่ห์

                5.  พกติดตัวจะช่วยป้องกันชีวิต นอกจากนั้นใช้ในด้านคงกะพันชาตรีก็ได้ผลดีเช่นกัน

                6.  วัวธนูใช้ป้องกันอาถรรพ์ ป้องกันผู้ร้าย และป้องกันไฟได้ดี

                7.  วิธีบอกอาณาเขตให้วัวธนูดูแลให้เอาน้ำรดวัวธนูแล้วเอาถังน้ำมารองให้นำน้ำนี้ไปรดแนวรั้วทั้ง 4 ด้าน ของพื้นที่บ้านเพื่อเป็นการบอกอาณาเขตที่วัวธนูต้องดูแลบ้านหลังนั้น

เรื่องเล่าเกี่ยวกับวัวธนู หลวงพ่อน้อย

                เรื่องแรก นานมาแล้วมีเศรษฐินีที่สามพรานคนหนึ่ง ชื่อจันทร์ ได้นิมนต์คณาจารย์ชื่อดังจำนวนหลายองค์ ไปในงานฉลองตลาดใหม่โรงหมูและเรือยนต์ โดยมีหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง รวมอยู่ด้วย โดยอาจารย์ทั้ง 3 องค์ไปก่อนวันงาน 1 วัน เนื่องจากเป็นอาจารย์ที่เคารพนับถือของเจ้าของงาน จึงต้องค้างแรมที่บ้านงานจัดเตรียมไว้ให้ คืนวันนั้นตกดึกหลวงปู่บุญได้ลุกขึ้นมาเพื่อไปทำกิจได้เดินผ่านหลวงพ่อน้อยไปเกิดพบเห็นอัศจรรย์ รุ่งเช้าพอฉันเพล ท่านก็นั่งเสวนาร่วมกับบรรดาพระที่ไปร่วมงานครั้งนั้น โดยมีการเสวนาดังนี้

หลวงปู่บุญ...นี่ท่านน้อยเมื่อคืนฉันลงไปทำกิจเห็นรัศมีไฟสีแดงลุกท่วมตัวท่าน ท่านมีอะไรดีล่ะ

หลวงพ่อแช่ม...อึ้ม ฉันก็เห็นเหมือนกัน

หลวงพ่อน้อย...ไม่มีอะไรหรอก มีแต่วัวธนูในย่ามอยู่ตัวหนึ่ง

หลวงปู่บุญ...อ้อ...ท่านทำเองใช้เองนะ ว่าง ๆ ทำให้ฉันใช้บ้างซิ

                เรื่องที่สอง คืนหนึ่งมีขโมยตั้งใจจะมาขโมยทรัพย์สินของจีนเส็ง (เจ้าของบ้าน) ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนโปรดคนหนึ่งของหลวงพ่อน้อย จีนเส็งเป็นคนร่ำรวย ทำมาค้าขายอยู่ในนครชัยศรี และมีวัวธนูของหลวงพ่อน้อยไว้เฝ้าบ้านอยู่ตัวหนึ่ง คืนนั้นหลังจากดาวหมาขึ้นแล้วได้ฤกษ์ปลอด ขโมยผู้เรืองวิชาหยิบก้อนดินพร้อมกับภาวนาบริกรรมปลุกเสกก้อนดินเสร็จแล้วก็เหวี่ยงก้อนดินข้ามหลังคาบ้านจีนเส็ง เพื่อจะสะกดจีนเส็งและคนในบ้านให้หลับใหล แต่วัวธนูที่อยู่ในบ้านได้ยินเสียงผิดปรกติ จึงลุกขึ้นกระโดดออกจากบ้านตัว           ดำมะเมื่อม ตาแดงปัด ร่างใหญ่โต ทำให้โจรพบเห็นจึงเกิดความหวาดกลัว จึงล่าถอยไป ภายหลังขโมยคนนั้นได้เล่าเรื่องนี้ให้เพื่อน ๆ ฟังจนเป็นที่รู้กันทั่ว

07 08

 

วัวธนู  หลวงพ่อน้อย  วัดศรีษะทอง  เนื้อครั่งพุทรา

09 10
11 12

 

วัวธนู  หลวงพ่อน้อย  วัดศรีษะทอง  แกะจากเขาวัวกระทิง

ลักษณะการปั้นวัวธนู ของหลวงพ่อน้อย

                วัวธนูหลวงพ่อน้อยมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด

                -      ขนาดใหญ่ ใช้บูชาประจำบ้าน มีความยาวถึง 5-6 นิ้ว

                -      ขนาดกลาง ใช้บูชาประจำบ้านเหมือนกัน มีความยาวถึง 3-4 นิ้ว

                -      ขนาดเล็ก ใช้พกติดตัว ความยาว 1-2 นิ้ว เป็นแบบที่นิยมที่สุด

                -      ขนาดจิ๋ว ส่วนใหญ่จะใส่ในตลับสีผึ้ง

                1.    ลักษณะการปั้นวัวธนูขนาดใหญ่ ให้สังเกตจะปั้นลำตัวยาว และผอม ขาหลังสั้นกว่าขาหน้า จะยืนค่อนข้างตรงหน้าเชิด ๆ ขึ้น เขาวัวงุ้มลง หางวัวจะปั้นใหญ่แต่สั้น

                2.    ลักษณะการปั้นวัวธนูขนาดกลาง ให้สังเกตจะปั้นได้สัดส่วนกว่าขนาดใหญ่ แต่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ขาหลังสั้นกว่าขาหน้า ยืนขาถ่างเล็กน้อย หน้าเชิด ๆ เช่นกัน เขาวัวงุ้มลง หางวัวจะใหญ่แต่สั้น

                3.    วัวธนูขนาดเล็ก เป็นขนาดที่นิยมที่สุด มีจำนวนการสร้างมากกว่าขนาดอื่น ลักษณะการปั้นได้สัดส่วน ขาหลังสั้นกว่าขาหน้ายืนขาถ่าง หน้าเชิด ๆ เขาวัวปั้นชี้ขึ้นและถ่างออก หางวัวจะใหญ่แต่สั้น

                4.    วัวธนูขนาดจิ๋ว จะปั้นไม่ค่อยได้สัดส่วน ให้รู้คร่าว ๆ ว่าเป็นวัวธนูเท่านั้น

                5.    ลักษณะชันโรงที่ปั้นวัวธนูจะมีสีดำอมน้ำตาล มีจุดแดง ๆ อมน้ำตาลลักษณะเนื้อในใส ๆ บ้างบางจุด

                6.    พื้นผิวของวัวธนูจะไม่เรียบ มีรอยกระปุ่มกระป่ำมีรอยปริแตกของครั่งเป็นรอยแบบเล็บจิกลงไปในเนื้อ บางจุดจะมีผงขาว ๆ อมเหลืองติดอยู่ตามตัววัวธนู ที่จริงเป็นเปลือกต้นพุทราที่ติดมากับชันโรง

                7.    วัวธนูหลวงพ่อน้อยจะไม่มีการลงรักปิดทองส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะปิดทองแค่แผ่นเดียวบนครั่งพุทราที่ตัววัวเลย และไม่มีการลงอักขระหรือจารบนตัววัว เนื่องจากหลวงพ่อน้อยได้ฝังตะกรุดในลำตัววัวก่อนที่จะพอกครั่งทับ

                8.    วัวธนูส่วนใหญ่จะมีโครงลวดทองแดงและมีตะกรุดทองแดงบรรจุอยู่ในลำตัววัว จึงทำให้วัวธนูมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีวัวธนูส่วนหนึ่งที่ไม่มีโครงลวดทองแดงและตะกรุดทองแดงบรรจุอยู่ในตัววัว จึงทำให้วัวมีน้ำหนักเบาเล็กน้อย ให้ผู้อ่านสังเกตศิลปะการปั้นวัวธนูและดูพื้นผิวครั่ง ดังที่กล่าวข้างต้นแทน

                9.    ส่วนวัวธนูที่แกะจากเขากระทิงส่วนใหญ่จะแกะเป็นวัวขนาดเล็กทั้งสิ้น ศิลปะการแกะก็คล้าย ๆ วัวธนูแบบครั่งพุทรา และบางตัวจะมีจารอักขระข้าง ๆ ลำตัวด้วย

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< ตุลาคม 2019 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31