logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้41
mod_vvisit_counterเดือนนี้71822
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12738063
เรามี 17 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

 

20     21

20     21

 

 


     ถ้าจะเอ่ยชื่อ หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ ท่านเป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสาธุชนทั่วไป โดยวัตถุมงคลที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ก็คือเบี้ยแก้ เป็นเบี้ยที่เซียนรุ่นเก่าเล่นหากันมานานแล้ว ซึ่งเบี้ยแก้ของท่านจะมีลักษณะเฉพาะก็คือ การถักเชือกหุ้มเบี้ยจะเปิดหลังเบี้ยไว้ไม่ถักปิดหมด แต่หลวงพ่อภักตร์ยังมีอีกวิชาหนึ่งซึ่งโด่งดังไม่แพ้เบี้ยแก้ของท่านเลยก็คือ กลองตะโพนงาแกะ

            สมัยก่อนมีเรื่องเล่ากันว่ามีคณะลิเกชื่อว่า วงหอมหวล เป็นคณะลิเกเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการแสดง แต่เนื่องจากเป็นคณะลิเกที่ไม่มีคนรู้จัก และไม่เป็นที่นิยมชมชอบ จึงมีคนเข้ามาชมลิเกแต่ละคืนน้อยมาก และเมื่อคณะลิเกผ่านมาถึงจังหวัดอ่างทองก็เลยจะมาเปิดการแสดงที่วัดโบสถ์ จึงได้ทำการขออนุญาตหลวงพ่อ หลวงพ่อก็อนุญาตเปิดการแสดงได้ คณะลิเกได้เปิดการแสดงถึง 3 วัน คนก็มาดูการแสดงน้อยมากก็เลยคิดว่าจะไปกราบลาหลวงพ่อว่าจะย้ายไปเล่นที่อื่นแทน เพราะดูแล้วคนละแวกนี้ไม่สนใจการแสดงลิเก ก็เลยนั่งสนทนากับหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านจึงเมตตา จึงบอกหัวหน้าคณะลิเกไปว่าให้นำกลองตะโพนมาเดี๋ยวหลวงพ่อจะปลุกเสกให้ แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยมารับกลับคืนไป และหลวงพ่อสั่งหัวหน้าคณะว่าวันนี้ให้เริ่มการแสดงตั้งแต่เย็น “ให้ออกแขก” เล่นดนตรีไปเรื่อย ๆ แล้วจะมีคนมาดูเอง หัวหน้าคณะจึงสั่งให้ลูกน้องให้ออกแขกตั้งแต่ตอนเย็นเลยตามที่หลวงพ่อบอกไว้ และจะดูซิว่าหลวงพ่อจะเก่งอย่างที่เค้าร่ำลือหรือเปล่า ปรากฏว่า เสียงกลองตะโพนที่บรรเลงนั้นได้ยินไปไกลหลายหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง ผู้คนได้ยินเสียงกลองตะโพนดังแบบมีความนุ่มนวลละมุนละไม ทำให้คนได้ยินมีความเคลิบเคลิ้ม และหลงใหล จนต้องเดินทางมาชมให้เห็นกับตาและได้ยินกับหูแบบใกล้ ๆ พอตกหัวค่ำได้มีคนมานั่งชมลิเกเรียกได้ว่าอย่างล้นหลามเลยทีเดียว และหัวหน้าคณะเลยตัดสินใจเปิดการแสดงต่ออีก 2 วัน ผลก็ออกมาเหมือนวันแรก คือมีคนมาชมลิเกมากมายแบบมืดฟ้ามัวดินเลยทีเดียว และว่ากันว่า ขนาดฝนตกคนก็ยังนั่งชมการแสดงแบบสู้ไม่ถอยเลย

            หลังจากนั้นคณะลิเกก็ต้องย้ายไปเล่นที่อื่น ก็เลยมากราบลาหลวงพ่อและกล่าวขอบคุณหลวงพ่อที่ท่านเมตตาช่วยเหลือ ภายหลังคณะลิเกคณะหอมหวล ก็เริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อย ๆ จนคณะลิเกคณะอื่น ๆ ก็มาฝากตัวเป็นศิษย์และนำกลองตะโพนมาให้หลวงพ่อปลุกเสก จนหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากเรื่องกลองตะโพน หลังจากนั้นไม่นานลูกศิษย์ก็รบเร้าให้หลวงพ่อสร้างเครื่องรางเป็นรูปกลองตะโพนขนาดเล็กไว้พกพานำติดตัวไป มีทั้งทำจากงาช้าง หรือทำจากกระดูกสัตว์ก็มี ว่ากันว่า กลองตะโพนของท่านสร้างได้ยากมาก และหลวงพ่อท่านก็สร้างไว้น้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้คนที่อยากได้ ฉะนั้นใครมีก็ต่างหวงแหน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคนปล่อยหรือเปลี่ยนมือโดยง่าย ส่วนใหญ่จะใช้กลองตะโพนใช้กันแบบเป็นมรดกตกทอดยันลูกหลานเลยทีเดียว ส่วนเรื่องพุทธคุณของกลองตะโพนก็จะเน้นไปที่เรื่อง เมตตามหานิยมอย่างแรง และมีมหาลาภด้วย และก่อนจะพกพานำติดตัวไปให้ท่องคาถานี้กำกับด้วย

            นะโม 3 จบ

            พุทธธัง รัตตะนัง             ธัมมัง รัตตะนัง               สังฆัง รัตตะนัง

 

                                                                                                            ช้าง–วัดห้วย

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< มีนาคม 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31