logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1280
mod_vvisit_counterเดือนนี้27745
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา76155
mod_vvisit_counterทั้งหมด12770141
เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์

 

โดย  ช้าง วัดห้วย

 

                พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เป็นพระเครื่องในความใฝ่ฝันของทุก ๆ คน ที่อยากจะเป็นเจ้าของ แต่คนที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศรษฐีมีเงินเท่านั้น ส่วนพวกเซียนก็มีไว้ให้เศรษฐีเช่าต่อไปอีกทอดหนึ่ง ส่วนคนธรรมดาหมดสิทธิ์เป็นเจ้าของ เพราะพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์สวย ๆ องค์จะหลายสิบล้าน นอกเสียจากเป็นมรดกตกทอดกันมา สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ถ้าอยู่ในเกณฑ์สวย ก็ยังพอหาได้  แต่ถ้าสวยระดับแชมป์นี่ซิหายากมาก บางคนรอจนเจ้าของพระเดิมตายไป ถึงจะได้เปลี่ยนมือ และต้องสู้ราคาถึงจะได้เป็นเจ้าของและถ้าเป็นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่สวยระดับแชมป์ 4 องค์ 4 แม่พิมพ์ และเป็นเจ้าของเดียวกัน จะหายากขนาดไหน

                ประวัติความเป็นมาของพระสมเด็จ วัดระฆังพิมพ์ใหญ่ 4 องค์ 4 แม่พิมพ์ เดิมเป็นของ อ.เต็ก นครปฐม เป็นพระที่ อ.เต็ก หวงมาก ๆ ไม่เคยให้ใครได้เห็นเลย ผู้เขียนซึ่งเป็นหลานชาย เฝ้าขอแบ่งกว่าจะได้ 1 องค์ ใช้เวลาหลายปี รวมเวลาเกือบ 20 ปี จึงจะได้ครบทั้ง 4 แม่พิมพ์ อ.เต็ก บอกว่า พระ 4 องค์นี้          ที่ทยอยแบ่งให้ เป็นสุดยอดของแต่ละแม่พิมพ์ เก็บไว้ให้ดี เพราะต่อไป พระสวยระดับนี้จะหาไม่ได้อีกแล้ว ส่วนราคาก็จะแพงกว่าหลายเท่าตัว และเมื่อเราแก่ตัวลงก็จะมีคนที่เหมาะสม จะมาดูแลต่อจากเราไป เรียกว่าสมบัติพลัดกันชม เป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไป ส่วนวันนี้เราจะมาอธิบายหลักการพิจารณาสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์ ให้จบภายในคราวเดียวกันเลย ส่วนพิมพ์ด้านหลังทั้ง 4 พิมพ์, เนื้อพระ, มวลสาร  ต่าง ๆ ที่ควรรู้ จะรวบรวมไว้เขียนแยกต่างหากอีกครั้งแบบละเอียดภายหลัง

 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

“องค์สรรเสริญ”

พิมพ์ที่ 1 มีเส้นแซมใต้ตัก

01            02

             ถ้าพูดถึงสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 จะนึกถึงทันทีว่ามีเส้นแซมใต้ตัก มีเส้นสังฆาฏิเส้นเล็ก 1 เส้น และเท่าที่พบเจอ ก็จะเห็นแม่พิมพ์นี้แม่พิมพ์เดียวเท่านั้น ที่มีหมุนเวียนในวงการพระ ส่วนถ้าถามถึงพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นมีเส้นแซมมั้ย ตอบว่ามี คือพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 2 แต่เส้นแซมจะติดจาง ๆ ไม่ชัดเจน และจะแนบใต้เข่า ผู้เขียนตั้งใจจะแยกพิมพ์ครบทีเดียว 4 พิมพ์เลย มาตั้งนานแล้ว เพียงแค่รอพิมพ์ที่ 1 พิมพ์เดียวเท่านั้น ซึ่งในเว๊บ ช้าง–วัดห้วย ก็มีพิมพ์ที่ 1 ตั้ง 3 องค์ คือ องค์ที่ 1, 2, 8 แต่ยังไม่ถูกใจเท่าที่ควร คือ ผู้เขียนต้องการพระที่มีผิวสะอาดไม่มีอะไรมาบดบัง เช่น ผิวแป้ง หรือพระลงรัก พอมาได้ “องค์สรรเสริญ” สิ่ง      ที่รอคอยก็มาถึงแล้ว องค์นี้ ถูกใจ...ใช่เลย ตรงตามแบบที่ต้องการ คือเป็นพระสวย พิมพ์กดได้ลึก ติด ชัดเจนทุกจุด ตัดข้างได้ตรงไม่โย้เอียง พื้นผิวสะอาดแบบธรรมชาติ โดยไม่ได้ล้างขัดถู เพื่อผู้อ่านจะได้เห็นเนื้อและพิมพ์อย่างชัดเจน เมื่อเวลาขยายภาพใหญ่ ส่วนบทความเรื่องสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ผู้เขียนเคยลงในเว๊บ ช้าง–วัดห้วยไปแล้ว 1 ครั้ง ตอนนั้นจะเขียนรวม ๆ แต่คราวนี้จะเขียนแยกเป็น 4 พิมพ์ 4 เรื่อง แล้วมารวมกันคราวนี้จะเขียนและชี้ตำหนิอย่างละเอียดโดยไม่มีกั๊กเอาไว้เลย

 

 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์
03 

 

 

หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1

                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ และไม่เกินข้อศอกซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว

                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี

                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ

                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 เกศจะสั้นกว่าทุกพิมพ์ของพิมพ์ใหญ่

                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ใบหน้าจะออกเหลี่ยมไม่เป็นทรงรี

                6.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ

                7.    ให้สังเกตพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกจะเห็นเส้นสังฆาฏิขนาดเล็กเรียวบาง

                8.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 1 จะค่อนข้างทิ้งตรง ๆ ลงมาทั้งสองข้าง

                9.    ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 1 จะดูสั้นกว่าพิมพ์อื่น ๆ

                10.  ที่หัวไหล่ซ้ายพระ เฉพาะแม่พิมพ์ที่ 1 จะมีจุดเว้า 2 จุดตามลูกศรชี้

                11.  หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายพระเสมอ

                12.  หัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ

                13.  ร่องระหว่างปลายฐานชั้นบน ด้านขวามือพระกับปลายหัวเข่าด้านขวามือพระจะแคบ ส่วนปลายหัวเข่าและปลายฐานชั้นบน ด้านซ้ายมือพระจะกว้างกว่า

                14.  เส้นแซมใต้ตักให้สังเกตให้ดี จะเป็นเส้นนูน เส้นนี้จะเริ่มลากมาจากใต้เข่าขวาพระโดยจะมีช่องห่างจากเข่าเล็กน้อย เส้นนี้จะลากโค้งขึ้นไปเกือบติดใต้เข่าแล้วค่อยโค้งม้วนลงไปซุกใต้เข่าซ้ายพระ เส้นแซมนี้จะเป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่ 1

                15.  ส่วนบนสุดของฐานชั้นบนตามลูกศรชี้ จะมีเส้นนูนเส้นเล็ก ๆ 1 เส้น ลากยาวเกือบสุดฐานน่าจะเป็นร่องรอยของเครื่องมือแกะแม่พิมพ์

                16.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น

                17.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นรอบตัวองค์พระ

 

 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

“องค์ปาฏิหาริย์”

พิมพ์ที่ 2 พิมพ์อกตัววี

 04     05

 

                สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 พิมพ์อกตัววี จะเป็นพระสมเด็จที่มีค่อนข้างมาก และมีหมุนเวียนในวงการพระมากพอสมควร หลักการสังเกตให้ดูที่อกจะเป็นรูปทรงตัววี มีทั้งอกวีแคบ และอกวีกว้าง ให้ตีรวมเรียกว่า พิมพ์อกตัววีทั้งสิ้น จริง ๆ แล้ว แม่พิมพ์ที่ 2 จะมีแม่พิมพ์หลายตัว แต่ละพิมพ์จะ  คล้าย ๆ กันจะต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น

                สำหรับ “องค์ปาฏิหาริย์” องค์นี้เป็นพระสวยระดับแชมป์ พิมพ์ทรงลึกชัดเจนทุกจุด ส่วนพื้นผิวยังมีคราบแป้งอยู่ตามส่วนลึกขององค์พระ สาเหตุที่เกิดคราบแป้งก็เนื่องจากตอนกดพิมพ์ เนื้อพระที่นำมากดพิมพ์จะเป็นเนื้อค่อนข้างเหลว พอกดพิมพ์แล้ว นำไม้มากดหลังให้แน่น น้ำปูนก็จะไหลลงไปสู่ด้านล่าง ก็คือด้านหน้าขององค์พระ สรุปแล้วคราบแป้งก็คือคราบน้ำปูนนั่นเอง ส่วนมวลสารต่าง ๆ เช่น เม็ดพระธาตุ เม็ดมวลสารต่าง ๆ ก็มีกระจายอยู่ทั่วพื้นผิว สำหรับส่วนสูงของเส้นซุ้มครอบแก้ว, ตัวองค์พระ และฐานพระจะถูกสัมผัสบ้างบางส่วน ทำให้พื้นผิวดังกล่าวสีจะเข้มขึ้นจัดขึ้น และจะตัดกับพื้นผิวทั่วไปที่เป็นคราบแป้ง     ที่เป็นสีขาว จึงทำให้ตัวองค์พระ, ฐาน, เส้นซุ้ม จะดูโดดเด่นขึ้น และพระจะดูลึกขึ้น คือสวยขึ้น สง่าขึ้นแบบธรรมชาติ แบบที่ไม่ได้เสริมแต่ง ส่วนด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ ด้านล่างจะมีรอยคลองเลื่อยของไม้กระดานที่มากดพิมพ์ ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เป็นเส้นตามขวาง 6-7 เส้น ส่วนเม็ดพระธาตุ, เม็ดมวลสาร ก็มีกระจายอยู่ทั่วไป

 

 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์

 53

 

 

หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2

                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ และจะชิดซุ้ม และจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว

                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี

                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ

                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 เกศจะค่อนข้างยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะเอียงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย

                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่ ปลายคางจะสอบแหลม

                6.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ

                7.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 2 จะกว้างกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะโย้ไปทางขวามือพระเล็กน้อย

                8.    ช่วงลำตัวตั้งแต่อกลงไปถึงเอวจะเป็นรูปตัววี มีทั้งอกวีแคบ และอกวีกว้าง จะตีเข้าพิมพ์ที่ 2 ทั้งหมด และอกวีนี้จะเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 2

                9.    ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้า จนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 2 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1

                10.  หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายมือพระเสมอ

                11.  หัวเข่าด้านขวามือพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ

                12.  ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้น แล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ

                13.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น

                14.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นรอบตัวองค์พระ

 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

“องค์ทองพันชั่ง”

พิมพ์ที่ 3 พิมพ์อกกระบอก

      51      52

 

                สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 พิมพ์อกกระบอก จะเป็นแม่พิมพ์ที่หายากมากกว่าทั้ง 4 พิมพ์ เป็นพระพิมพ์ใหญ่ที่มีน้อยไม่ค่อยเจอ และจะหายากกว่าพิมพ์ที่ 1 เสียอีก หลักการดูง่าย ๆ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า พิมพ์อกกระบอก ก็ให้ดูที่อก และข้างลำตัว เส้นข้างลำตัวจะทิ้งลงมาเป็นเส้นตรง ๆ เลยทั้งสองข้าง ส่วนหลักการดูจุดอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กับพิมพ์ที่ 2 ไม่ต่างกันเท่าไร

                สำหรับ “องค์ทองพันชั่ง” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีการลงรักปิดทองมาแต่เดิม จากข้อมูลตามโบราณกล่าวไว้ว่า พระลงรักปิดทองส่วนใหญ่จะเป็นพระคะแนนนับ เช่น กดพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ได้ 100 องค์ จะปิดทองไว้ 1 องค์ เวลาเราจะนับพระที่กดพิมพ์เสร็จแล้ว ก็มานับพระที่ปิดทองแทน คือ 1 องค์ = 100 องค์ ไม่ต้องมานั่งนับทีละองค์จะเสียเวลา และเป็นที่น่าสังเกต พระคะแนนนับ    ที่ปิดทองทุกองค์จะคัดเอาแต่พระสวย ๆ มาปิดทองเป็นแบบนี้ทุกองค์ ดั่งเช่น “องค์ทองพันชั่ง” เป็น       พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ที่ปิดทองมาแต่ดั้งเดิม และปิดทองเต็มทั่วพื้นผิวด้านหน้า มีแค่บางส่วนที่หลุดร่อนออกเฉพาะส่วนที่ถูกสัมผัส ก็คือด้านบน เช่น ตัวองค์พระ, ฐาน, และเส้นซุ้ม นอกนั้นทองเต็มสมบูรณ์ 100% พูดถึงพระปิดทองเก่า ลักษณะทองเก่าต้องแห้งไม่มันเงา เนื้อทองจะเป็นสีเหลืองออกแดงและจะ  หม่น ๆ สภาพด้านหน้า จะเป็นพระสวยมาก ลึกมาก พิมพ์สมบูรณ์ทุกจุด ตัดข้างได้ฉาก ไม่โย้เอียง ถ้าผู้เขียนจะบอกว่า “องค์ทองพันชั่ง” สวยที่สุด ในพระประเภทปิดทองเก่าที่มีอยู่ทั้งหมดก็ไม่เกินเลยจริง ๆ ส่วนด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ มีรอยปริแตกด้านข้างเล็กน้อย มีเม็ดพระธาตุบ้างแบบประปราย

 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์

 06

หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3

                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว

                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี

                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ

                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 เกศจะค่อนข้างยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะเอียงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย

                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่

                6.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ

                7.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 3 จะกว้างกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะโย้ไปทางขวามือพระ

                8.    ช่วงลำตัวตั้งแต่อกไปถึงเอวจะเป็นรูปทรงกระบอกให้ดูอกและเส้นข้างลำตัวจะทิ้งลงมาเป็นเส้นตรง ๆ ลงมาเลยทั้งสองข้าง และอกทรงกระบอกจะเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 3

                9.    ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 3 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1

                10.  หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายพระเสมอ

                11.  หัวเข่าด้านขวามือพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ

                12.  ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้นแล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ

                13.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น

                14.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นที่รอบตัวองค์พระ

 

 

 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

“องค์สมประสงค์”

พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม

   07     08

 

                สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นพระสมเด็จที่มีค่อนข้างมาก แบ่งออกเป็นหลายแม่พิมพ์ แต่แม่พิมพ์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิมพ์เกศทะลุซุ้ม อกวี เอวผายออก และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม อกวี ส่วนแม่พิมพ์อื่น ๆ ก็จะคล้าย ๆ กัน เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพิมพ์ที่ 4 ก็คือ จะตัดปีกกว้าง หรือจะเรียกว่ามีกรอบกระจกก็ได้ ถ้าถามว่า พิมพ์ 4 แบบตัดชิด มีมั้ย ตอบว่ามี แต่จะมีน้อย มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยคุยกับ อ.เต็ก นครปฐม อ.เต็ก กล่าวว่า ในบรรดา 4 พิมพ์ใหญ่ อ.เต็ก จะชอบพิมพ์ 4 มากที่สุด ผู้เขียนก็ไม่ได้ถามเพราะเหตุใด แต่ถ้าถามว่าผู้เขียนชอบพิมพ์ไหนมากที่สุด คำตอบก็คือ พิมพ์ 1 มีเส้นแซมใต้ตัก เพราะพิมพ์ 1 มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ ของพิมพ์ที่ 1 ให้เห็นได้ชัดเจน พิสูจน์ให้เห็นได้ แต่จริง ๆ แล้ว พิมพ์ไหนก็ได้ ขอให้เป็นพระสวยระดับแชมป์ก็แล้วกัน ผู้เขียนชอบหมด

                สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม “องค์สมประสงค์” เป็นพระ        ที่ได้มากว่า 10 ปีแล้ว เป็นพิมพ์ใหญ่ที่สวยงามระดับแชมป์ สภาพพิมพ์ด้านหน้าเป็นพระที่กดพิมพ์ได้ลึกมาก โดยเฉพาะซอกแขนจะเห็นได้อย่างชัดเจน ฟอร์มพระองค์นี้งามสง่าทั่วทั้งองค์ การตัดปีกกว้างพอควรไม่กว้างเทอะทะ และได้ฉากดี สภาพพื้นผิวมีคราบความเก่า คราบฝุ่นปกคลุมบาง ๆ เนื้อในเป็นเนื้อขาวอมเหลือง มีเม็ดมวลสารบ้างเล็กน้อย มีรอยหดตัว, ปริแตก ตามตีนเส้นซุ้มตลอดทั้งเส้น ด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ มีรอยปริ รอยปูไต่ ตามขอบบ้างเล็กน้อย สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 “องค์สมประสงค์” ถือว่าเป็นพระสวยสมบูรณ์มาก ทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์

 09

 

หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4

                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ และไม่เกินข้อศอกซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว

                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี

                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ

                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 เกศจะยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะทะลุซุ้มครอบแก้วเล็กน้อย จุดนี้คือเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 4

                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่เรียวได้สัดส่วน

                6.    กรณีกดพิมพ์ได้ลึก แม่พิมพ์ที่ 4 จะเห็นหูพระแบบรำไรทั้งสองข้าง

                7.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ

                8.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 4 แขนทั้งสองข้างจะทิ้งลงมาตรง ๆ แบบแม่พิมพ์ที่ 1 แต่จะกว้างและยาวกว่าพิมพ์ที่ 1

                9.    ช่วงลำตัวตั้งแต่อกไปถึงเอว อกจะเป็นรูปตัววีลงไปถึงเอวแล้วจะผายออกทั้ง 2 ข้าง

                10.  ช่วงระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 4 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1

                11.  หัวเข่าด้านซ้ายจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายมือพระเสมอ

                12.  หัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ

                13.  ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้น แล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ

                14.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น

                15.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นรอบตัวองค์พระ

                16.  พิมพ์ที่ 4 ส่วนใหญ่จะตัดปีกกว้าง หรือจะเรียกว่ามีกรอบกระจก

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< กุมภาพันธ์ 2020 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
            1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29