logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้847
mod_vvisit_counterเดือนนี้54221
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12720462
เรามี 25 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

    01   02            

                ถ้าพูดถึงจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว พระกรุที่มีชื่อเสียง และคนรู้จักมากที่สุดและมีความต้องการเป็นเจ้าของมากที่สุดคงหนีไม่พ้นพระท่ากระดาน แต่ถ้าถามถึงพระเครื่องของเกจิอาจารย์   ที่มีชื่อเสียงลำดับต้น ๆ ของคนเมืองกาญจน์คงหนีไม่พ้น พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัวเป็น   แน่แท้

                หลวงปู่ยิ้มหรือคนสมัยก่อนจะเรียกว่า “เฒ่ายิ้ม” เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในวิชาอาคมแก่กล้า เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา ประวัติโดยย่อ หลวงปู่ยิ้มได้บวชที่วัดหนองบัวโดยมี        พระอาจารย์กลิ่น เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาทางเพศบรรพชิตว่า    จันทโชติ เมื่อท่านได้บวชและศึกษาพระธรรมวินัยได้ 2 พรรษา จึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปแสวงหาพระอาจารย์ที่มีคุณธรรมวิเศษอีกหลายท่านในจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเรียนจบศึกษาจนเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาเรียนต่อกับหลวงพ่อกลิ่น พระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงพ่อกลิ่นเห็นว่า   หลวงปู่ยิ้มเป็นลูกศิษย์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามและดีพร้อมจึงถ่ายทอดวิชาอาคมให้จนหมดสิ้น และคอยควบคุมให้ปู่ยิ้มฝึกฝนจนเชี่ยวชาญถึงขั้นเป็นตัวแทนของหลวงพ่อกลิ่นได้ในภายภาคหน้าในยามที่หลวงพ่อกลิ่นสิ้นบุญไปแล้ว เมื่อหลวงพ่อกลิ่นมรณภาพจึงได้มอบหมายให้หลวงปู่ยิ้มขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสืบแทนต่อมา

                เมื่อหลวงปู่ยิ้มเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวแล้ว กิตติคุณทางด้านเวทย์มนต์และทางด้าน    หมอยาได้มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วสารทิศ จึงมีพระภิกษุผู้เลื่อมใสในองค์หลวงปู่ยิ้มมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ แต่หลักเกณฑ์ผู้ที่จะฝากตัวเป็นศิษย์จะต้องผ่านขั้นตอนทดสอบ สมาธิจิต คือจะต้องใช้   พลังจิตด้านเตโชกสิณ เพ่งลำเทียนให้ไส้เทียนขาดเสียก่อน ท่านจึงจะรับไว้เป็นศิษย์ สำหรับ      พระอาจารย์ในยุคต่อมาที่มีชื่อเสียงซึ่งเคยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ยิ้ม ได้แก่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จังหวัดสมุทรสงคราม, หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม และยังมีอีกหลาย ๆ ท่านที่มาแค่ขอแลกเปลี่ยนวิชากัน และหลวงปู่ยิ้มยังมีดีทางด้านหมอยา หลวงปู่ยิ้มได้รวบรวมสมุนไพรไว้มากมาย ท่านได้รักษาชาวบ้าน ทุกชั้นวรรณะให้หายจากการเจ็บป่วย ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสไปทั่วทุกแห่งหน พระกิตติคุณของหลวงปู่ยิ้มยังมีอีกมากมายยากที่จะพรรณาได้หมด และได้เป็นที่นับถือเลื่อมใสแก่สาธุชนมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนวัตถุมงคลของหลวงปู่ยิ้มก็สร้างไว้หลายชนิด มีทั้งพระเครื่อง และเครื่องราง แต่วันนี้เราจะมากล่าวถึงพระปิดตาของท่านซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใครมีไว้ก็ต่างหวงแหนกันนั้นก็คือ พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม พิมพ์ใหญ่ชะลูด



หลักการพิจารณา
03

พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

 

หลักการพิจารณา

                1.    ให้ดูขอบข้างขององค์พระปิดตาจะเห็นเป็นรอยของมีคมเฉือนไปตามรูปร่างขององค์พระ ลักษณะเป็นเหลี่ยมสั้นบ้างยาวบ้าง ถ้าเราดูจากด้านหลังจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า

                2.    ให้สังเกตมือที่ประสานกันที่บริเวณใบหน้าจะเป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายกับพนมมือ กรณีที่พระกดพิมพ์ได้ลึกติดชัดเจนจะเป็นแบบนี้ทุกองค์

                3.    จุดที่ท่อนแขนด้านในมาบรรจบกันตรงกึ่งกลางจะเป็นจุดที่สูงสุดแล้วลาดลงไปด้านบนก็คือใบหน้าและลาดลงด้านล่างก็คือแขนทั้งสองข้าง

                4.    ให้สังเกตข้อศอกซ้ายพระจะถอยหลังชิดด้านในส่วนข้อศอกขวาพระจะยื่นขึ้นไปข้างหน้า

                5.    พิมพ์ใหญ่ชะลูด ตรงหน้าแข้งจะมีทั้งรอยบุ๋มลงไป 2 หลุม และแบบทึบตันก็มี

                6.    ให้สังเกตหัวเข่าด้านขวาพระจะหักงอชี้ขึ้น ส่วนหัวเข่าด้านซ้ายพระจะเรียบตรง

                7.    ด้านหลังจะเป็นรอยปาดเรียบ

                8.    หลักการดูเนื้อ

                        -      เนื้อนิยมของพระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัวก็คือ เนื้อเหลือง และเนื้อเหลืองก็มีหลายเฉดสี แต่ส่วนมากจะเจอสีเหลืองอ่อน ๆ แบบสีรำข้าว และเหลืองเข้มก็มี แต่จะมีน้อยเพราะส่วนใหญ่เกิดจากการลงรักและน้ำรักจะซึมเข้าไปในเนื้อพระ เมื่อลอกรักออกจะเห็นได้ว่าพระจะมีสีเข้มขึ้น เนื้อพระจะมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน ขาวอมเหลือง หรือสีอ่อน ๆ ให้รวมเรียกว่าเนื้อเหลืองทั้งสิ้น ส่วนเนื้อพระจะมีลักษณะซวก ๆ เนื้อจะไม่แน่น ถ้าถูกเหงื่อ เนื้อพระจะแลเข้มขึ้น จะกระดำกระด่างจนบางคนจะเรียกว่า “ลายตุ๊กแก” ส่วนพระปิดตาบางองค์จะมีคราบผิวสีน้ำตาลจับตามผิวพระก็มี คือพระที่ได้รับแจกในการบูรณะพระอุโบสถ สาเหตุที่เกิดคือพระถูกบรรจุอยู่ในกรุน้ำมันต่าง ๆ ที่ผสมอยู่ในเนื้อพระก็จะซึมขึ้นมาอยู่บนพื้นผิวเนื่องจากโดนความร้อนอบอยู่ในกรุ

                        -      เนื้อผงคลุกรัก หรือเนื้อขี้เป็ด ลักษณะเป็นสีเทาดำ เนื้อจะหยาบ เนื้อไม่แน่นเช่นกัน เป็นเนื้อที่ไม่ได้รับความนิยม

                        -      เนื้อตะกั่ว เท่าที่เคยพบเจอ มีแต่พิมพ์ชะลูดและพิมพ์สัจกัจจายน์ เป็นเนื้อที่มีน้อยมาก

                9.    พระปิดตาหลวงปู่ยิ้มพิมพ์ใหญ่ต้อ

 

04   05                

 

                พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม พิมพ์ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ชะลูด และพิมพ์ใหญ่ต้อ วิธีการดูก็เหมือนกัน เพียงแต่พิมพ์ใหญ่ต้อจะมีความสูงเตี้ยกว่าต้อกว่าเท่านั้นเอง

 

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< มีนาคม 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31