logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1586
mod_vvisit_counterเดือนนี้71585
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12737826
เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

 

พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่ง

 

โดย  ช้าง วัดห้วย

                พระปิดตาอันเลื่องชื่อระบือนาม เป็นยอดขุนพลประเภทพระปิดตามหาอุดอันดับ 1 คงหนีไม่พ้น พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ทุกพิมพ์ ทุกเนื้อ ของพระปิดตาวัดทอง เป็นที่ต้องการของทุก ๆ คน โดยเฉพาะเซียนสายปิดตาด้วยแล้ว พระปิดตาวัดทอง จะอยู่ในใจมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                หลวงพ่อทับ วัดทอง หรือพระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 9 ของวัดสุวรรณา-ราม (วัดทอง) เมื่อ พ.ศ.2450 วัดทองตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย กทม. เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา มีชื่อเดิมว่าวัดทอง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงโปรดให้รื้อและสถาปนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และพระราชทานนามใหม่ว่าวัดสุวรรณาราม แต่ชาวบ้านยังคงเรียกขานกันว่าวัดทอง ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

                หลวงพ่อทับ วัดทอง มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องอักขระเลขยันต์ และวิธีทางช่างหล่อโลหะ โดยเฉพาะเรื่องอักขระเลขยันต์ด้วยแล้ว ท่านเขียนได้วิจิตรพิศดารอย่างยิ่ง ยามว่างท่านจะเขียนภาพพระปิดตามหาอุดของท่าน ซึ่งประกอบด้วยเลขยันต์ต่าง ๆ จัดวางอย่างมีระเบียบ ไม่ค่อยซ้ำแบบกัน เพื่อเตรียมไว้ปั้นหุ่นจัดสร้างเป็นองค์พระปิดตาต่อไป

                หลวงพ่อทับ วัดทอง เริ่มสร้างพระและเครื่องรางของขลัง ประมาณปี พ.ศ.2436 เป็นต้นมา จุดประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้ลูกศิษย์ของท่าน และจะทำคนเดียว โดยมีลูกศิษย์ช่วยสุมไฟในการหลอมโลหะเท่านั้น หลวงพ่อทับจะสร้างพระคราวละไม่มากนัก โดยหลวงพ่อจะปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ โดยจะปั้นตัวองค์พระเป็นแบบโล้น ๆ ก่อน แล้วจึงฟั้นเทียนให้เป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นขนมจีนแล้วจึงประดิษฐ์เป็นอักขระทีละตัว วางลงบนตัวองค์พระจนเต็มตัวขององค์พระ แล้วจึงคลึงเทียนขี้ผึ้ง ทำสายชนวนเอามาต่อกับองค์พระที่บริเวณใต้เข่า เสร็จแล้วจึงเอาดินผสมขี้วัวแห้ง          ที่บดละเอียดผสมน้ำพอหมาด ๆ เอามาไล้หุ่นและสายชนวนให้สนิททั่ว ๆ และหนาพอ ผึ่งไว้ให้แห้ง จากนั้นเอาดินผสมขี้เถ้าแกลบพอกจนเป็นเบ้าหนา รูปร่างคล้ายกระปุก ทิ้งไว้จนแห้ง เมื่อแข็งดีแล้ว จึงเอามาเผาเพื่อสำรอกเอาเทียนออก แล้วหงายขึ้นเพื่อเทโลหะหล่อพระต่อไป

                ส่วนมาก หลวงพ่อทับ จะออกแบบเอง และสร้างหุ่นเทียนเอง โลหะต่าง ๆ ที่จะนำมาหลอม หลวงพ่อทับจะให้ช่างรีดโลหะชนิดต่าง ๆ มาแล้ว หลวงพ่อจะลงอักขระเลขยันต์ตามสูตรด้วยตัวท่านเอง แล้วนำมาหลอม และเทเป็นองค์พระ เสร็จแล้วค่อยนำมาปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง จะเห็นว่าการสร้างพระของท่าน ค่อนข้างยุ่งยากมาก แต่ละครั้งที่จะสร้างจึงสร้างได้ครั้งละไม่กี่องค์

                เนื้อพระของพระปิดตา วัดทอง ส่วนมากจะเป็นเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ส่วนที่เป็นเนื้อโลหะแบบชนิดเดียวก็มี

 

แร่และโลหะต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างพระปิดตาวัดทอง ได้แก่

                1.    แร่เมฆพัตร ที่หลวงพ่อได้มาจากเพชรบุรี เป็นแร่สีดำเงา

                2.    เหล็กละลายตัว ที่หลวงพ่อแบ่งจากหลวงปู่จัน วัดโมลี ก็คือ แร่บางไผ่

                3.    จ้าวน้ำเงิน คือแร่ที่หลวงพ่อได้จากในคลองบางใหญ่ วรรณะออกขาวเจือน้ำเงินอ่อน ๆ ผิวเกลี้ยง

                4.    ชนวนสัมฤทธิ์ ของหลวง คือเศษสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระกริ่งรัชกาล ในพระบรมมหาราชวัง

                5.    ทองม้าฬ่อ คือทองเนื้อลงหิน ที่ช่างบุขันลงหินนำมาถวาย

                6.    ทองเหลือง หมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี

                7.    ทองแดง คือธาตุโลหะทองแดงบริสุทธิ์

                8.    เงินกลม เป็นเงินซึ่งใช้ในสมัยโบราณ

                โลหะสัมฤทธิ์ คือโลหะผสมตามสูตรโบราณซึ่งใช้โลหะผสมตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป แต่ไม่เกิน 9 ชนิด หล่อหลอมตามอัตราส่วนเป็นโลหะชนิดใหม่เรียกว่า “สัมฤทธิ์” อย่างไรก็ดี โลหะสัมฤทธิ์จะต้องใช้โลหะ 2 ชนิด คือ ทองคำและเงินเป็นส่วนผสมหลักอยู่เสมอ จึงจะถือว่าเป็นโลหะสัมฤทธิ์

 

พระปิดตา วัดทอง มีด้วยกันหลายเนื้อ ดังนี้

                1.    เนื้อสัมฤทธิ์เงินปนแร่

                        เป็นพระเนื้อที่นิยมกันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ให้สังเกตเนื้อในจะต้องออกขาว เนื้อจะไม่แน่นตัวเพราะมีแร่ผสม ผิวมีทั้งออกขาวเหมือนเนื้อเงินตามซอกมีผิวปรอท และอีกแบบหนึ่งก็คือ ผิวกลับดำออกเทา แต่เนื้อในก็ต้องออกขาวเหมือนกัน เนื้อนี้กรณีตกหล่นอาจจะแตกหักได้ง่าย

                2.    เนื้อสัมฤทธิ์เนื้อในออกแดง

                        เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ที่นิยมอีกเช่นกัน แต่จะเป็นรอง เนื้อสัมฤทธิ์เงินเนื้อในออกขาว ผิวโดยรวมจะกลับดำ เนื้อในออกแดง

                3.    เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อในออกเหลือง

                        เป็นเนื้อสัมฤทธิ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งพบเจอค่อนข้างมาก ผิวโดยรวมจะออกดำอมน้ำตาล ความนิยมจะเป็นรอง 2 แบบแรก

                4.    สร้างเป็นเนื้อแร่บางไผ่

                        เป็นเนื้อที่พบเจอน้อยมาก วิธีดูก็เหมือนดูพระปิดตาแร่บางไผ่ทุกประการ

                5.    สร้างเป็นเนื้อเมฆพัตร

                        พระที่สร้างเป็นเนื้อเมฆพัตรบางคนจะชอบมาก และหายาก แต่หล่นจะแตกหักเช่นกัน ส่วนใหญ่จะหล่อออกมาเส้นยันต์จะไม่ลึกเหมือนเนื้อสัมฤทธิ์

                6.    สร้างเป็นเนื้อเงิน

                        เนื้อนี้จะใกล้เคียงกับเนื้อสัมฤทธิ์เงิน ข้อแตกต่างก็คือ เนื้อเงิน เนื้อจะไม่มีผิวปรอท ผิวเนื้อเงินจะหม่น ๆ

                7.    สร้างเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ แก่ทองเหลือง

                        เนื้อแก่ทองเหลือง เป็นเนื้อที่ไม่ได้รับความนิยม และราคาถูกที่สุด พื้นผิวเนื้อนี้ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นผิวทองเหลืองเลย ถ้าผิวจะกลับเต็มที่ผิวจะกลับเป็นสีน้ำตาล

หลักการพิจารณา พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่ง

02 01 03

 

04 05



1.            ให้สังเกตมือคู่หน้าด้านล่าง ถ้าเป็นวัดทองมือจะล้วงในเข่า ถ้าเป็นวัดหนัง มือจะล้วงนอกเข่า

                2.    ให้ดูด้านข้าง ด้านข้างของวัดทองหรือวัดหนัง จะต้องไม่มีตะเข็บ ถ้ามีตะเข็บหรือรอยประกบ จะเป็นพระเก๊ หรือพระถอดพิมพ์ทั้งสิ้น

                3.    ให้สังเกตเส้นยันต์ของแท้จะกลมเหมือนเส้นขนมจีน ส่วนของเก๊หรือพระถอดพิมพ์ เส้นยันต์จะติดตื้น ๆ ผอม ๆ รอยประกบด้านข้างจะทำให้เส้นยันต์เยื้องกันหรือเกยกัน

                4.    ใต้เข่าพระปิดตาจะมีรอยก้านชนวนจะอยู่ด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ ช่างจะแต่งให้เรียบกลมกลืน

                5.    ความเก่า ปิดตาวัดทองหรือวัดหนัง ตามซอกจะมีคราบเบ้าที่มีสีดำเกาะติดแน่น และมีดินหุ่นเป็นกรวดทราย ติดตามซอกยันต์ค่อนข้างแน่น ต้องใช้เหล็กแหลมแคะออก ส่วนถ้าเป็นพระใช้ก็จะมีคราบเหงื่อไคล, คราบฝุ่น, ติดตามซอก ส่วนบนที่ถูกสัมผัสจะแลดูสว่างสดใสเห็นเนื้อใน

                6.    หลักการดูพระล้าง กรณีเจอพระล้างให้สังเกตดูว่าพื้นผิวทั้งหมดจะดูซีด ตามซอกจะสะอาดเกลี้ยง สาเหตุที่ทำให้พระดูซีดส่วนใหญ่ที่นิยมทำกัน และทำไม่เป็น ก็คือใช้น้ำร้อนจัดนำพระลงไปแช่ตรงนี้จะทำให้พระแห้งกระด้างและซีด เหมือนพระเก๊เลย อีกอย่างที่ชอบทำก็คือ นำพระไปแช่ในเครื่องดื่มชูกำลังแบบนี้ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ จะทำให้พระเปลี่ยนสี พื้นผิวของพระถูกกัดจนพรุน และจะเห็นเนื้อใน ดูเหมือนพระเก๊แบบไม่ต้องส่องกล้องเลย

                7.    ส่วนการดูพระตบแต่งหรือพระฝน ให้ดูเส้นยันต์ด้านบนจะถูกฝนแต่งให้เรียบเสมอกัน ในกรณีนี้ให้ดูเส้นยันต์จะมีขอบทั้งสองข้าง แต่ถ้าเป็นพระสึกแบบธรรมชาติ เส้นยันต์ที่ถูกสัมผัสจะไม่มีขอบเส้นยันต์ จะสึกแบบไม่เท่ากัน เช่น เส้นยันต์ตรงไหนสูงก็จะสึกมากกว่าตามซอกที่ไม่ถูกสัมผัสจะสึกน้อยกว่า

                8.    หลักการดูเนื้อสัมฤทธิ์และความนิยม เรื่องเนื้อสัมฤทธิ์ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็คือให้เลือก เนื้อสัมฤทธิ์เงินหรือสัมฤทธิ์เงินกลับดำเนื้อในออกขาว กรณีมองไม่เห็นว่าเนื้อในออกสีอะไร ให้ดูจุดที่ถูกสัมผัสที่สูงสุด เช่น มือปิดหน้า, หัวเข่า หรือเส้นยันต์

                9.    หลักการดูพระสวยก็คือให้ดูรูปทรงเบื้องต้นต้องได้ขนาดพอดีไม่ใหญ่โตเกินไป การวางยันต์ต้องวางยันต์เต็มตัวองค์พระ และต้องวางยันต์ให้แน่น ช่องไฟของเส้นยันต์ต้องใกล้เคียงกัน เส้นยันต์ต้องกลม สวยไม่ขาดไม่แหว่ง การหลบของปลายเส้นยันต์ ต้องหลบแล้วดูกลมกลืน และแนบเนียน และเลือกยันต์ที่กลางหลังของวัดทอง ที่นิยมก็คือตัว “เฑาะว์” พวกเนื้อเกิน พยายามให้มีให้น้อยที่สุด และสุดท้ายก็เลือกเนื้อสัมฤทธิ์เงิน แค่นี้ก็จะได้พระสวยและนิยมแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< ธันวาคม 2019 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31