logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้497
mod_vvisit_counterเดือนนี้53871
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา61025
mod_vvisit_counterทั้งหมด12720112
เรามี 21 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

 

โดย  ช้าง-วัดห้วย

 

                

          เครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ได้แก่ เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปานมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ร้อยกว่าปีแล้ว ปัจจุบัน การจะหาเขี้ยวเสือแท้ ๆ สักตัวมาบูชาก็ช่างจะหายากเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา ซึ่งเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปานสวย ๆ ตัวละหลาย ๆ แสนบาท และยังหาของแท้ไม่ได้เลย ซึ่งใครมีก็เก็บเข้ารังหมด ยิ่งถ้ามีเขี้ยวเสือศิลปะสวย ๆ ด้วยแล้ว ค่อนข้างจะหวงมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเชื่อถือพุทธคุณ คือจะโดดเด่นทางมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม ส่วนเรื่องของเก๊ก็เพียบเลย วันนี้ผู้เขียนจะแนะการพิจารณาเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ก่อนเลย

 


หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน

วัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ

001

รูปด้านหน้า
002 
รูปด้านหลัง

 

007 008
009 010

 

 

             

                1.เขี้ยวเสือแกะ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จะมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เขี้ยวเสือขนาดใหญ่ จะเป็นเขี้ยวเสือโคร่ง ส่วนเขี้ยวเสือขนาดเล็กที่ไม่มีรูใต้ฐานก็จะเป็นปลายเขี้ยวที่แกะตัวใหญ่เหลือ ส่วนถ้าเขี้ยวเสือตัวเล็กและใต้ฐานมีรู (ดังในภาพ) ส่วนใหญ่จะเป็นเขี้ยวเสือไฟ

 

                2.    เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ส่วนใหญ่จะใช้เขี้ยวเสือทั้งอันมาแกะเสือ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือโคร่ง หรือเขี้ยวเสือไฟ ใต้ฐานของเสือจะต้องมีรูกลวงทะลุถึงบน และให้สังเกตรูใต้ฐานจะต้องเป็นรูกลมหรือรูรี เท่านั้น ถ้าเป็นรูแบบอื่น รูปทรงไม่แน่นอน จะไม่ใช่เขี้ยวเสือ

 

                3.    ศิลปะการแกะเสือมีทั้งแกะสวย และแกะไม่สวย แต่แบ่งง่าย ๆ เป็น 2 แบบ คือ แบบหุบปาก (เสืออิ่ม) ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือแกะของช่างนิล และอีกแบบคือ แบบอ้าปาก ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือแกะของช่างมา

 

                4.    รูปทรงลักษณะของเสือหลวงพ่อปานที่นักเล่นรุ่นเก่ายึดถือกันมาก็คือ “หูหนู ตาลูกเต๋า เขี้ยวโปร่งฟ้า ยันต์กอหญ้า เสือหน้าแมว” และแกะนิ้วเสือ ต้องหน้าสี่หลังสี่ คือการแกะนิ้วด้านหน้าข้างละสี่นิ้ว ส่วนด้านหลังก็ต้องข้างละสี่นิ้ว รวมแล้วได้สิบหกตามสูตร คือสิบหกโสฬส ถือเป็นมาตรฐาน

 

                5.    รอยจาร หรืออักขระบนตัวเสือ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ควรจะจดจำลักษณะลายมือ และตำแหน่ง   ที่วางยันต์ เช่น ยันต์กอหญ้าจะวางไว้ใต้ฐาน และตัว ฤๅ ฦๅ และเลข ๗, ๙ จะวางไว้ตามลำตัว ผู้เขียนขอแนะนำให้ลองฝึกเขียนอักขระแล้วจะแม่นไปเอง

 

                6.    ความเก่าเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานนั้นมีอายุการสร้างถึงปัจจุบันก็ร้อยกว่าปี ตามซอกที่ไม่ถูกสัมผัสจะแห้ง และมีคราบสกปรกติดแน่นอยู่ ส่วนที่ถูกสัมผัสจะเหลืองเข้ม มันเงา สดใส ให้สังเกตเสือ 1 ตัว จะมีสีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอกันทั้งตัว จะมีสีเข้มบ้าง อ่อนบ้าง ตามธรรมชาติ

 

                7.    ล่องรอยงานแกะให้สังเกตตามซอกจะมีล่องรอยของเครื่องมือแกะ เช่น รอยมีดแกะ รอยขูดบ้าง ตามซอกส่วนลึกที่ไม่ถูกสัมผัส

 

                8.    ให้สังเกตรูด้านล่างเสือแกะ (ตัวอย่าง) จะเป็นรูกลมรีนิด ๆ รอบ ๆ รูจะมีคราบความเก่าเกาะติด และจะมีเสือบางตัวที่รูด้านล่างจะเป็นรูสามเหลี่ยมหรือรูแบน ซึ่งไม่ใช่เขี้ยวเสือ ผู้ที่ทำปลอมจะใช้ดอกสว่านเจาะรูสวนลงไปในรูเดิมให้กลายเป็นรูกลม ฉะนั้นต้องระวังตรงนี้ด้วย

 

                9.    รอยแตกของเขี้ยวเสือ จากบทความเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานของบางท่านที่เขียนว่า เขี้ยวเสือ  หลวงพ่อปานจะต้องแตกทุกตัวไม่ว่าจะแตกมากหรือแตกน้อย แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนว่า เขี้ยวเสือส่วนใหญ่ที่แตกจะแตกเฉพาะเขี้ยวเสือตัวใหญ่ และจะแตกจากฐานขึ้นบน ส่วนเขี้ยวเสืออันเล็กหรือปลายเขี้ยวจะไม่ค่อยแตก ลองสังเกตดูหลาย ๆ ตัว

 

                10.  ให้สังเกตเขี้ยวเสือที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นสีเดียวกันทั้งตัว แม้แต่ในซอกลึกก็เป็นพื้นผิวสีเดียวกันหมด ให้พึงระวังว่าอาจจะเป็นเขี้ยวเสือที่นำไปทอดหรือคั่วทราย เพราะธรรมชาติของเขี้ยวเสือที่ถูกใช้หรือถูกสัมผัส พื้นผิวจะมีสีเข้มหรืออ่อนไม่เท่ากัน และในซอกที่ไม่ถูกสัมผัสต้องแห้งและมีความเก่า

 

                สำหรับเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ตัวที่ได้ชมอยู่นี้ เป็นเขี้ยวเสือของผู้เขียนเอง ซึ่งเป็นเขี้ยวเสือขนาดเล็ก (เข้าใจว่าเป็นเขี้ยวเสือไฟ) คนแกะเขี้ยวเสืออันนี้แกะได้สวยมาก ถือเป็นฝีมือชั้นครูเลยทีเดียว ปกติผู้เขียนจะไม่ค่อยเช่า, ซื้อ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปานสักเท่าไหร่ เพราะมีแต่ศิลปะไม่สวย แต่เมื่อมาเจอเขี้ยวเสืออันนี้ ผู้เขียนตามเฝ้ามาเป็นปีกว่าจะได้ เดิมถักลวดเงินทำเป็นกระเช้าเก่ากึกเลย

 

                ตอนนี้เรามาตรวจสอบดูศิลปะเสือตัวนี้กัน เริ่มจากใบหน้าเสือแกะได้กลมใหญ่ หูหนู ตาลูกเต๋า ส่วนด้านข้างการแกะลักษณะนั่งได้สัดส่วนไม่สูงชลูด หลังเสือค่อมเล็กน้อย และที่สำคัญการแกะนิ้วเท้า  แกะแบบหน้าสี่ หลังสี่ รวมแล้วได้ 16 คือ 16 โสฬส ปรกติเสือตัวเล็กขนาดนี้ จะแกะนิ้วได้ข้างละ 3 นิ้วเท่านั้น นั่นก็แสดงให้เห็นว่าเขี้ยวเสือตัวนี้ แกะได้สัดส่วน เป็นมาตรฐานทุกจุด แม้แต่ตรงก้นเสือ ยังแกะไข่เสือให้เห็นอีก ยอดเยี่ยมจริง ๆ ส่วนรอยจารไม่ว่าจะเป็นยันต์ กอหญ้า ฤๅ ฦๅ เลข ๗, ๙ ตัว อุ มีครบสูตร ให้สังเกตในร่องยันต์จะมีความเก่า สีจะเข้มกว่าพื้นผิวทั่วไป ส่วนคราบความเก่าตามซอกส่วนลึกหรือส่วนที่สัมผัสไม่ถึงก็มีครบถ้วน ส่วนรูใต้ฐานก็เป็นรูกลมรี ๆ

 

 

 

สรุป สุดท้ายของการดูเขี้ยวเสือ

 

                -      ให้ดูศิลปะการแกะของเขี้ยวเสือ

 

                -      ให้ดูลายมือจาร, ตำแหน่งวางยันต์

 

                -      ให้ดูธรรมชาติความเก่า, พื้นผิวของเขี้ยวเสือ

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< มีนาคม 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31