พระเครื่อง
- หมวด 4 จตุรเทพโคตรแชมป์
- พระสุดหวงของ ช้าง–วัดห้วย
- หมวดพระสวยขั้นเทพ-มีไว้แค่โชว์
- หมวดรวมพระแชมป์ยอดนิยม
- พระเบญจภาคี
- พระปิดตายอดนิยม
- เครื่องรางยอดนิยม
- พระเครื่องเนื้อโลหะยอดนิยม
- หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม
- พระเครื่องเนื้อดินยอดนิยม
- พระชุดเล็กยอดนิยม
- หมวดมรดกพระเครื่อง อ.เต็ก
- หมวดพระเครื่ององค์พิเศษ
- พระทวารวดี และเทวรูปขนาดเล็ก
- หมวดพระแชมป์–ราคาแรงส์
- หมวดพระแปลกตาแต่แท้ชัวร์
- หมวดพระแชมป์–ราคาเบา
- หมวดพระยอดหายาก
เสืองาแกะ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี
โดย ช้าง-วัดห้วย
ถ้าจะนึกถึงเครื่องรางประเภทเสือ ทุกคนก็จะต้องนึกถึง เขี้ยวเสือแกะหลวงพ่อปาน วัด บางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เป็นอันดับแรก มีทั้งเสือหุบปากและอ้าปาก แต่ก็มีเสือแกะอีกสำนักหนึ่ง ซึ่งหายากกว่า และมีน้อยกว่า และราคาก็ถูกกว่าเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั่นก็คือ เสืองาแกะหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี
เสือหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เป็นเสือที่หายากมาก ๆ ผู้เขียนเจอเองไม่เกิน 3 ตัว แต่ส่วนใหญ่เจ้าของจะไม่ขาย สาเหตุน่าจะสร้างน้อย หายาก ราคาถูกกว่าเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ซึ่งพอจะเก็บสะสมได้ ส่วนพุทธคุณก็ไปทางมหาอำนาจไม่แตกต่างกัน ส่วนเสือปู่ยิ้มที่ทุกท่านได้ชมอยู่นี้ ผู้เขียนเจอะเจอมา 10 กว่าปีแล้ว ตอนนั้นนายหน้าพาไปดูที่เมืองกาญจน์เลย เห็นครั้งแรกก็ชอบเลย เจ้าของพระเลี่ยมใช้เองอยู่ในพลาสติก ผู้เขียนบุกยังไงก็ไม่ขาย จะเอาพระแลกก็ไม่เอา ผู้เขียนก็พูดทิ้งท้ายว่า วันหนึ่งถ้าจะขายก็โทรบอกนายหน้าไว้แล้วผมจะมาเอา ส่วนราคาแล้วค่อยคุยกัน ภายหลังเจ้าของเสือปู่ยิ้มได้เสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สภาพแชมป์มาโดยซื้อมาแพงมาก (นายหน้าเล่าให้ฟัง) ผู้เขียนก็เลยบอกนายหน้าว่าลองเข้าไปถามอีกครั้ง ก็รอมานานมากแล้ว เจ้าของเปิดราคาทันที 75,000 บาท ผู้เขียนให้นายหน้านัดวันได้เลย เมื่อถึงวันนัดผู้เขียนก็เตรียมเงินไป 85,000 บาท เผื่อจ่ายค่านายหน้าด้วย เมื่อเห็นเสือปู่ยิ้ม ผู้เขียนก็ถามว่า ทำไมมันมอมแมมยิ่งนี้ พลาสติกที่เลี่ยมก็มีรอยแตก แต่ตรวจสอบดูแล้ว เสือยังสวยเหมือนเดิม แค่มีคราบเหงื่อเข้าไปบ้างเล็กน้อย สุดท้ายราคาก็จบที่ 70,000 บาท และจ่ายนายหน้าไป 7,000 บาท และต่างคนต่างแยกย้าย
จริง ๆ แล้วผู้เขียนจะชอบเครื่องรางประเภทเสือมาก ๆ แต่ไม่ค่อยจะซื้อเก็บ เพราะส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน หรือเสืองาแกะ หลวงปู่ยิ้ม ส่วนใหญ่จะเจอแต่ศิลปะการแกะที่ไม่สวย ส่วนเสือปู่ยิ้มตัวนี้ เป็นตัวที่ 2 ที่ซื้อขึ้นมา และก็นึกย้อนกลับไป ถ้าได้เสือปู่ยิ้มตัวนี้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เนื้อที่สีผิวของเสือคงจะไม่เหลืองจัดขนาดนี้ ก็คงเป็นเพราะพลาสติกที่มีรอยแตก ไอเหงื่อจะซึมเข้าไปได้ จึงทำให้เสือตัวนี้เนื้อจัดจ้านมาก และแกะยืนบนฐานทำให้เสือตัวนี้งามสง่ายิ่งนัก ขนาดของเสือตัวนี้ ฐานกว้าง 1.7 ซม. สูงสุดปลายจมูก 2.3 ซม.
หลักการพิจารณา เสือหลวงปู่ยิ้ม
- ลักษณะเสือปู่ยิ้ม จะยืนหน้าเชิด ๆ และแกะเสือในลักษณะอ้าปากและกำลังคำราม
- เสือปู่ยิ้ม เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของช่างแกะก็คือจะแกะหางพาดหลังเสมอ
- ปลายเล็บเท้าเสือปู่ยิ้มจะแกะเล็บเท้าในลักษณะจิกงุ้มกับพื้น
- ตามลำตัวจะแกะเป็นลายเสือแบบง่าย ๆ ตั้งแต่ลำตัว, ขา, หาง
- เสือปู่ยิ้มจะแกะอวัยวะเพศผู้ให้เห็น และจะแกะเขี้ยวยาวให้แลดูอย่างน่าเกรงขาม
- ส่วนใหญ่เสือปู่ยิ้มจะแกะมีฐานรองรับ มีทั้งฐาน 2 ชั้น และชั้นเดียว
- ส่วนใต้ฐานมีทั้งจารอักขระและไม่จาร
วัสดุที่ใช้สร้างเสือหลวงปู่ยิ้ม
- ใช้งาช้างแกะเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งขนาดเล็ก, กลาง, ใหญ่ จะมีไม่มาก
- ใช้เขี้ยวเสือแกะ ส่วนใหญ่จะเจอแต่ตัวเล็ก ๆ สีออกน้ำตาลเข้ม แต่เขี้ยวเสือแกะจะหายากกว่า และดูยากกว่า